ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีประเภทใหม่ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเคยใช้จัดเก็บมาก่อน รายได้จากการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ทั้งหมดจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ของท้องถิ่นทั้งหมด ไม่ต้องพึ่งพารายได้ของรัฐบาล เป็นภาษีใหม่ที่มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2562 และเริ่มมีการจัดเก็บในปี 2563 เป้าหมายเพื่อปรับปรุงระบบภาษีแบบเดิม และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น ๆ มากขึ้น และในปี 2565 นี้ กระทรวงการคลังพิจารณาการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแบบเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่มีการปรับลดมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว เนื่องจากการลดภาษีในช่วงปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นภาระทางการคลังของรัฐบาล หลักการสำคัญของ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ การจัดเก็บภาษีจะพิจารณาจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ การกำหนดอัตราภาษีเป็นแบบก้าวหน้าตามมาตรฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกระบวนการเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม การกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการชำระภาษีของประชาชน การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี อันเชื่อมโยงข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมที่ดิน กรมธนารักษ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เงิน-บ้าน-เหรียญ-การลงทุน-ธุรกิจ-2724235/ ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูงจะต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษีที่ดินเพียงอย่างเดียว กระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ครอบครองอยู่ไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้ให้ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้นำรายได้ในส่วนนี้ไปใช้ในการลงทุน และจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อใดจึงเข้าข่ายต้องเสีย ภาษีตามเกณฑ์?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามลักษณะที่กฎหมายกำหนด หรือมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจะดำเนินการจัดเก็บเป็นรายปี โดยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ผู้ที่มีรายได้มีหน้าที่ต้องดำเนินการแสดงรายได้ของตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป แต่บางกรณีผู้มีเงินได้ตามลักษณะที่กฎหมายกำหนดจะต้องยื่นแบบ ฯ เสียภาษีตอนครึ่งของปีสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อช่วยบรรเทาภาระการเสียภาษีที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณีจะมีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเลย เพื่อให้มีการทยอยการชำระภาษีเงินได้ที่เกิดขึ้นนั่นเอง ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/vectors/ธุรกิจ-ภาษี-การเงิน-ค่าใช้จ่าย-6952808/ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร โดยจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล หลักการจัดเก็บภาษีที่สำคัญ ๆ ตามลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ หมายรวมถึงนิติบุคคลประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายไทย ได้แก่ บริษัท จำกัด บริษัทมหาชน จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทย แต่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย (ตามมาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากต่างประเทศ ที่กระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งภายในประเทศไทย (ตามมาตรา […]
จ่ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ เรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ไม่ต้องไปขนส่ง

จ่ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ การชำระภาษีรถประจำปีคือหน้าที่ของเจ้าของรถที่จะต้องดำเนินการเป็นประจำทุก ๆ ปี และในกรณีที่รถยนต์ที่ใช้อยู่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี เจ้าของรถสามารถจ่ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ประจำปี ผ่านระบบออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบกได้ แต่ในกรณีที่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์มีอายุใช้งานมากกว่านั้น สามารถยื่นชำระผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน แต่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่กรมขนส่งทางบกให้การรับรองเสียก่อน จึงจะสามารถจ่ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ โดยทำบนเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ก็ได้ ประเภทรถยนต์ที่สามารถ จ่ายภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้เลย ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดมากกว่า 7 คน (รย.2) อายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี รถที่ขึ้นทะเบียนจังหวัดใดก็ได้ รถที่ค้างชำระภาษี […]
ภาษีออนไลน์ สิ่งที่ควรทราบก่อนยื่นภาษีแบบออนไลน์

ภาษีออนไลน์ ในอยู่หมวดหมู่ของคำว่า ภาษี ซึ่งก็คือเงินที่ถูกเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนที่มีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ภาษีที่เรียกเก็บนี้มีอยู่ 2 รูปแบบ คือภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีรายได้จากการทำงาน ทั้งการค้าขาย งานบริการ หรืออุตสาหกรรม ภาษีทางอ้อมคือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการซื้อสินค้า หรือใช้บริการต่าง ๆ ที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง สาเหตุที่ต้องเสียภาษีก็เพื่อให้รัฐมีรายได้ และนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งการคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่ง โรงเรียน ถนน และเงินเดือนของข้าราชการที่ทำงานให้กับประชาชนอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ ผู้มีรายได้สามารถยื่น ภาษีออนไลน์ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก ก็สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้สะดวก การยื่นเก็บภาษีออนไลน์แต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา กรณีไม่มีคู่สมรสมีเงินได้มากกว่า 300,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี แต่หากน้อยกว่าจะได้รับการยกเว้นเป็นต้น และกรณีเงินได้ของนิติบุคคลจะพิจารณาจากกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การชำระเงิน-ชำระเงินออนไลน์-4334491/ วิธียื่นภาษีออนไลน์ กรณีเงินได้บุคคลธรรมดา เข้าระบบ E-filing บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร กดเลือกแบบการยื่นแบบออนไลน์ เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 (กรณีมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียว) และแบบ ภ.ง.ด. […]
ภาษีรถยนต์ เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ภาษีที่เจ้าของรถต้องรู้ไว้

ภาษีรถยนต์ คือภาระทางการเงินที่เจ้าของรถยนต์จะต้องรับผิดชอบ และเป็นภาระที่จะต้องชำระเป็นประจำทุกปี โดยควบคู่ไปกับการทำพรบ.รถยนต์ด้วย หลักฐานที่ยืนยันการเสียภาษีรถยนต์คือป้ายวงกลมที่เจ้าของรถนิยมนำมาแสดงในตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่จราจรสำรวจตรวจสอบได้ง่าย ถือเป็นของสำคัญที่จะต้องมีติดรถยนต์ พอ ๆ กับทะเบียนรถยนต์เลยทีเดียว การเสียภาษียวดยานพาหนะในแต่ละปี จะพิจารณาตามประเภทของรถยนต์ กำลังเครื่อง อายุการใช้งานรถยนต์ และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และในกรณีที่เจ้าของรถยนต์ไม่เสียภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด นำรถภาษีขาดไปใช้ตามท้องถนน ก็อาจถูกปรับทำให้เสียเวลา และเสียเงินเพิ่มจากค่าปรับจากการชำระภาษีเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้อีกด้วย ค่าปรับในกรณีที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์จะประมาณ 400 – 1,000 บาท ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/installment-รถยนต์-ธนาคาร-3572185/ ภาษีรถยนต์ ควรต่อเมื่อใด ภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ ถือเป็นภาระหน้าที่ที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องดำเนินการทุกปี เพื่อให้การขับขี่รถยนต์บนท้องถนนเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย และจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีแล้วเท่านั้น โดยภาษีรถยนต์คือการชำระค่าใช้จ่ายให้ภาครัฐนำไปใช้ในการทำนุบำรุรักษาถนนหนทาง และเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี และเพียงพอ ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนนั่นเอง ตามปกติเมื่อดำเนินการเสียภาษีรถยนต์แล้ว เจ้าของรถจะได้รับป้ายบอกกำหนดการชำระภาษีปีถัดไป ซึ่งเจ้าของรถสามารถทำเรื่องต่อภาษีนี้ล่วงหน้า 90 วันก่อนถึงกำหนด หากรถยนต์ขาดการต่อภาษีประจำปี ก็จะมีค่าปรับย้อนหลัง โดยค่าปรับจะคิดเป็น 1% ของภาษีที่ต้องชำระต่อเดือน […]
ภาษีป้าย ลักษณะของภาษีที่เจ้าของป้ายต้องรับผิดชอบ

ภาษีป้าย (ป้าย) คือป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรือประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้อย่างงานบริการ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น ๆ ที่ใช้หารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาบนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ เป็นการเขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ ภาษีป้าย คือภาษีที่จัดเก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ ทั้งบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ด ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ในสถานที่ใดก็ตามเพื่อใช้หารายได้ หรือการโฆษณา จำเป็นต้องเสียภาษีป้ายทั้งนั้น ดังนั้นหากเปิดร้านกาแฟที่ตึกแถว มีป้ายชื่อร้าน และป้ายแสดงตำแหน่งร้านก็จะต้องเสียภาษีทั้งหมด 2 ป้าย ด้วยอัตราภาษีที่ตามรูปแบบ และขนาดที่กฎหมายกำหนด ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/โตเกียว-ญี่ปุ่น-shibuya-กลางคืน-4807294/ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาตัวเจ้าของป้ายได้ จะถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี กล่าวคือเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งเอาไว้ หรือแสดงอยู่จะเป็นผู้เสียภาษี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งการประเมินอัตราภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว […]
จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา การวางแผนการจ่ายเพื่อความคุ้มค่าที่ดีกว่า

จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ทุกคนควรรู้ว่าเมื่อมี”รายได้เข้ามา (ภาษาทางภาษีเรียกว่า เงินได้) ในช่วงปีใด ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม เมื่อเข้าสู่ปีถัดไป ในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป เป็นช่วงเวลาที่ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา สามารถยื่นได้ด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน หรือยื่นผ่านแบบอินเทอร์เน็ตบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ผู้ที่ต้องยื่น จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา ในแต่ละปี ไม่ได้หมายความถึงแต่ผู้ที่มีเงินได้มากกว่าเดือนละ 25,833 บาท หรือมีเงินได้ต่อปีสูงกว่า 300,000 บาท เท่านั้น เพราะกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี ก็ยังมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายได้ ตามกรณีต่อไปนี้ ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การควบคุม-คำนวณ-จ่าย-740202/ ประเภทของเงินได้ที่ต้อง จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายแล้ว เงินได้ที่ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน คือเงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ เงินได้นี้รวมถึงเงิน, ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องเป็นเงินที่ได้รับจริง สามารถแบ่งประเภทเงินได้ได้ ดังนี้ เงินได้ประเภทที่ […]
ภาษีคืออะไร เรื่องที่คนไทยควรรู้ไว้ ทำไมต้องจ่าย จ่ายไปทำอะไร?

ภาษีคืออะไร (Tax) คือ เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้แก่รัฐบาล หรือสถาบันที่ทำหน้าที่แทนภาครัฐ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพื่อนำเงินตรา หรือทรัพย์ที่เก็บมาจากประชาชนไปใช้ในการบำรุง ผลักดัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายของระบบราชการ เพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศ กลางคือเป็นรายได้หลักของรัฐเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศเพื่อให้ประชาชนในประเทศเกิดความสุขและสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ภาษีคืออะไร ลักษณะของภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ภาษีทางตรง คือภาษีผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียให้รัฐโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระนี้ไปให้กับบุคคลอื่นได้ อาทิเช่น ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ต้องรับภาระโดยตรง สามารถแบ่งเบาภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น มักเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ภาษีเงินได้-เครื่องคิดเลข-การบัญชี-4097292/ ประโยชน์ของภาษี เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้กับรัฐ เงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณะเพื่อประชาชน ตามรายละเอียดต่อไปนี้ สร้างความปลอดภัยให้แก่ภาคประชาชน อำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบสาธารณสุข ระบบคมนาคม ฯลฯ สวัสดิการเพื่อการศึกษา สานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ ประเภทของภาษีที่ประชาชนชาวไทยต้องเจอ ประชาชนที่ประกอบสัมมาอาชีพ : […]
จ่ายภาษีรถยนต์ เรื่องที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายเงียบ

จ่ายภาษีรถยนต์ เปรียบได้กับการทำสัญญาระหว่างเจ้าของรถยนต์ และภาครัฐที่ดูแลภาษีรถยนต์ เพื่อให้ภาครัฐได้มีรายได้เพื่อการทำนุบำรุง ปรับปรุง เพิ่มเติม และพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกให้ดียิ่งขึ้น สะดวกมากขึ้น และเข้าถึงพื้นที่ทุรกันดารต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น จึงถือเป็นพันธกิจที่เจ้าของรถทุก ๆ คนจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะมีกำหนดการชำระเป็นรายปี และมีหลักฐานการชำระเป็นใบเสร็จ และป้ายทะเบียนสำหรับเก็บติดไว้ในรถ ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/รถเงิน-รถ-leasing-autokaufmann-4516072/ จ่ายภาษีรถยนต์ ตามรายละเอียดของรถยนต์แต่ละประเภท เพราะรถยนต์แต่ละประเภทจะมีอัตราการจ่ายภาษีรถยนต์ที่แตกต่างกัน เพราะรถยนต์แต่ละประเภทสามารถะนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน สามารถพิจารณานิยามความหมายของรถยนต์แต่ละประเภทตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้ ลักษณะรถยนต์ที่ได้รับส่วนลดการจ่ายภาษีรถยนต์ 4 ประเภท ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 138) ได้ระบุว่า เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติประกาศของคณะรัฐมนตรีไว้ดังนี้ รถยนต์กึ่งนั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle PPV) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 […]
จ่ายภาษี ใครบ้างที่ต้องจ่าย? ไขข้อสงสัยใครบ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี

จ่ายภาษี ภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามปกติการจ่ายภาษีจะทำเป็นรายปีตามรายได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำรายการรายได้ของตนเองไปแสดงตามแบบรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ในบางกรณีผู้มีเงินได้ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดสามารถยื่นแบบการเสียภาษีแบบครึ่งปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และบางกรณีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างทำหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่ายจากเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างบางส่วน เป็นการทยอยการชำระภาษีขณะที่มีเงินได้นั่นเอง ผู้ที่มีหน้าที่ จ่ายภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือผู้ที่มีเงินได้แกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/กุญแจมือ-ธนบัตร-ดอลลาร์-ใส่กุญแจมือ-3748614/ ผู้ที่ต้องยื่นจ่ายภาษี คนไทยที่มีรายได้ทุกคนต้อนยื่นแบบจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ คือการนำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ที่กำหนดโดยกรมสรรพากรมากรอกรายละเอียด พร้อมแนบหลักฐานรายได้ประจำปี รวมทั้งหลักฐานการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นชำระภาษี ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ทำความรู้จัก ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 แตกต่างกันอย่างไร แบบฟอร์มสำหรับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ ได้แก่ เอกสารยื่นประกอบการจ่ายภาษี การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องมีการจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อใช้คำนวณอัตราการจ่ายภาษี หรือเพื่อลดหย่อนภาษี ดังนี้ นอกจากเอกสารเหล่านี้ ในการจ่ายภาษีจะมีอัตราการขอลดหย่อนภาษีประกอบไปด้วย ทั้งนี้ กลุ่มการลงทุนทั้งหมดรวมกัน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท […]