ภาษีออนไลน์ ในอยู่หมวดหมู่ของคำว่า ภาษี ซึ่งก็คือเงินที่ถูกเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนที่มีรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ภาษีที่เรียกเก็บนี้มีอยู่ 2 รูปแบบ คือภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีรายได้จากการทำงาน ทั้งการค้าขาย งานบริการ หรืออุตสาหกรรม ภาษีทางอ้อมคือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการซื้อสินค้า หรือใช้บริการต่าง ๆ ที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง สาเหตุที่ต้องเสียภาษีก็เพื่อให้รัฐมีรายได้ และนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งการคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่ง โรงเรียน ถนน และเงินเดือนของข้าราชการที่ทำงานให้กับประชาชนอีกด้วย
ซึ่งในปัจจุบันเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ
ผู้มีรายได้สามารถยื่น ภาษีออนไลน์ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก ก็สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้สะดวก
การยื่นเก็บภาษีออนไลน์แต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา กรณีไม่มีคู่สมรสมีเงินได้มากกว่า 300,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี แต่หากน้อยกว่าจะได้รับการยกเว้นเป็นต้น และกรณีเงินได้ของนิติบุคคลจะพิจารณาจากกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การชำระเงิน-ชำระเงินออนไลน์-4334491/
วิธียื่นภาษีออนไลน์ กรณีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เข้าระบบ E-filing บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร กดเลือกแบบการยื่นแบบออนไลน์
- เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 (กรณีมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียว) และแบบ ภ.ง.ด. 90 (กรณีมีรายได้ทางอื่น นอกเหนือจากเงินเดือน)
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี ทั้งประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี เงินได้จากการจ้างแรงงานอื่น ๆ เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง เป็นต้น เงินที่ได้รับยกเว้นหรือค่าลดหย่อนภาษีออนไลน์ มีให้เลือกทั้งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF เงินอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ฯลฯ เมื่อตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วกดทำรายการต่อไป
- กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่าง ๆ โดยนำข้อมูลมาจาก “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” ตามมาตรา 50 ทวิ กรอกจำนวนเงินที่สะสมตลอดปี พร้อมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ส่วนคนที่เปลี่ยนงานหรือออกจากงานระหว่างปี ควรติดตามขอเอกสารจากที่ทำงานเก่า และที่ทำงานใหม่เพื่อนำมายื่นภาษีรวมกัน
- ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษีออนไลน์ โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการ “ยืนยัน” เพื่อยื่นแบบภาษี
- กดยืนยันการจ่ายเงิน หรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางเพื่อทำธุรกรรมการเงินภาษีออนไลน์ที่สะดวกที่สุด
กรณีไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบ และหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบ ฯ ของปีนั้น จากนั้นกรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ระบุเอาไว้ตอนยื่นภาษีออนไลน์
กรณีที่มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม ให้เลือกวิธีชำระภาษีออนไลน์ผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่สะดวก และดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น ๆ

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/การโอนเงิน-เคลื่อนที่ธนาคารและ-3588301/
ประเภทผู้มีรายได้อื่น ๆ ที่สามารถยื่นภาษีออนไลน์
- พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ นับเป็นอาชีพของคนยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมมาก โดยกรมสรรพากรจะรู้ว่ามีการขายของออนไลน์ จากสถาบันการเงินที่ส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) มาให้กรมสรรพากรตรวจสอบ โดยกรมสรรพากรจะตรวจสอบในกรณีต่อไปนี้
- เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี ไม่ว่าจะมียอดรวมของเงินได้ทั้งหมดกี่บาทก็ตาม
- ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันมากกว่า 2 ล้านบาท
ซึ่งกรมสรรพากรจะพิจารณายอดเงินเฉพาะส่วนการรับโอนเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องโอนเงินออก เพื่อใช้จ่ายจึงไม่ต้องกังวลกับการตรวจสอบข้อมูลส่วนนี้ แต่กรมสรรพากรจะตรวจสอบรวมถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติอีกด้วย
ข้อมูลที่กรมสรรพากรจะได้จากสถาบันทางการเงิน
- เลขประจำตัวประชาชน
- ชื่อ สกุลของผู้รับโอน
- เลขบัญชีเงินฝาก
- จำนวนครั้งที่ทำการฝากหรือโอนเงิน
- ยอดรวมจากการฝากหรือโอนเงิน
สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าต้องทำเพื่อยื่นภาษีออนไลน์
- การบันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย เงินลงทุน รวมถึงการรับเงิน โดยบันทึกทุกอย่าง เป็นบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีรายรับรายจ่ายประเภทใด และเป็นอย่างไรบ้าง
- เก็บหลักฐานเกี่ยวกับการค้าให้ดี เมื่อทางกรมสรรพากรเกิดคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากบันทึกรายรับรายจ่ายแล้ว ควรมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าได้ดำเนินการโอนรับ จ่ายเงิน หรือลงทุนอย่างไรบ้าง
- ติดตามข่าวสารการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีออนไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเงิน อาจเกิดข้อผิวพลาดทางการเงิน เช่นใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้
- ศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เพื่อสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี ต้องเสียภาษีเท่าใด หรือมีส่วนลดหย่อนภาษีใดได้บ้าง
- อาชีพอิสระ เป็นอาชีพเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ เงินได้ 40(8) อันได้แก่เงินจากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การทำเกษตร อุตสาหกรรม ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยยกเว้นภาษีเงินได้ และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และเงินได้ที่ไม่ได้ระบุอยู่ในเงินได้ทั้ง 7 ประเภทตามประกาศของกรมสรรพสามิต
การหักค่าใช้จ่ายเพื่อของส่วนลดหย่อนภาษีในการยื่นแบบ ฯ ภาษีออนไลน์ โดยการหักค่าใช้จ่าย ขึ้นกับรายการรายได้ของผู้มีรายได้ ที่มีให้เลือก 2 แบบ คือแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) และ หักแบบเหมา 60% ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 43 ประเภทของเงินได้ ตัวอย่างเช่นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 40 – 60% ของนักแสดงสาธารณะ โดยหักค่าใช้จ่าย 300,000 แรกแบบเหมาได้ไป 60% และส่วนที่เกินอีก 300,000 บาทที่หักแบบเหมาได้ 40% แต่รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 600,000 บาท
อาชีพฟรีแลนซ์คืออาชีพเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ เงินได้ 40(2) มีรายได้รูปแบบรับจ้างทั่วไป รับทำงานให้เป็นครั้งคราวโดยไม่มีลักษณะแบบเจ้านายลูกน้อง ได้แก่ ค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่าธรรมเนียม ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า การรับรีวิวสินค้า การออกแบบกราฟิก งานเขียน และแปลภาษา ค่าตอบแทนของพริตตี้ พิธีกร และ MC เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประเภทของอาชีพฟรีแลนซ์
- ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเป็นโปรเจคท์
- ฟรีแลนซ์ที่มีอาชีพทำงานประจำอยู่แล้ว แต่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาชีพเสริม
- ฟรีแลนซ์ที่ทำงานมีรายได้หลายทาง หรือหลายอาชีพในวันเดียวกัน เช่น ขายของ รับงานเขียน หรืองานบริการอื่น ๆ
- ฟรีแลนซ์ที่ทำงานคล้ายงานประจำ แต่มีลักษณะเป็นงานชั่วคราว โดยรับงานจากลูกค้ารายเดียว และ ทำงานผูกมัดกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ นานประมาณ 2-4 เดือน
การหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรืออยู่ประเภทรับเหมา หรืองานบริการ เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า งานเขียน หรืองานที่ต้องใช้อุปกรณ์ของฟรีแลนซ์ โดยผู้ว่าจ้างไม่ได้เป็นคนหามาให้ จะถือเป็นการจ้างงานแบบรับเหมาหรือบริการ รายได้ดังกล่าวจะต้องถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% และต้องแสดงในการยื่นภาษีออนไลน์

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/vectors/เงิน-ออนไลน์-ได้รับ-ธุรกิจ-การ์ตูน-6780010/