ภาษีรถยนต์ คือภาระทางการเงินที่เจ้าของรถยนต์จะต้องรับผิดชอบ และเป็นภาระที่จะต้องชำระเป็นประจำทุกปี โดยควบคู่ไปกับการทำพรบ.รถยนต์ด้วย หลักฐานที่ยืนยันการเสียภาษีรถยนต์คือป้ายวงกลมที่เจ้าของรถนิยมนำมาแสดงในตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่จราจรสำรวจตรวจสอบได้ง่าย ถือเป็นของสำคัญที่จะต้องมีติดรถยนต์ พอ ๆ กับทะเบียนรถยนต์เลยทีเดียว การเสียภาษียวดยานพาหนะในแต่ละปี จะพิจารณาตามประเภทของรถยนต์ กำลังเครื่อง อายุการใช้งานรถยนต์ และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และในกรณีที่เจ้าของรถยนต์ไม่เสียภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด นำรถภาษีขาดไปใช้ตามท้องถนน ก็อาจถูกปรับทำให้เสียเวลา และเสียเงินเพิ่มจากค่าปรับจากการชำระภาษีเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้อีกด้วย ค่าปรับในกรณีที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์จะประมาณ 400 – 1,000 บาท

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/installment-รถยนต์-ธนาคาร-3572185/
ภาษีรถยนต์ ควรต่อเมื่อใด
ภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ ถือเป็นภาระหน้าที่ที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องดำเนินการทุกปี เพื่อให้การขับขี่รถยนต์บนท้องถนนเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย และจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีแล้วเท่านั้น โดยภาษีรถยนต์คือการชำระค่าใช้จ่ายให้ภาครัฐนำไปใช้ในการทำนุบำรุรักษาถนนหนทาง และเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี และเพียงพอ ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนนั่นเอง ตามปกติเมื่อดำเนินการเสียภาษีรถยนต์แล้ว เจ้าของรถจะได้รับป้ายบอกกำหนดการชำระภาษีปีถัดไป ซึ่งเจ้าของรถสามารถทำเรื่องต่อภาษีนี้ล่วงหน้า 90 วันก่อนถึงกำหนด หากรถยนต์ขาดการต่อภาษีประจำปี ก็จะมีค่าปรับย้อนหลัง โดยค่าปรับจะคิดเป็น 1% ของภาษีที่ต้องชำระต่อเดือน ดังนั้นยิ่งปล่อยไว้นาน ค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นยิ่งปล่อยไว้นานค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น กรณีที่ขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถยนต์ก็จะถูกยกเลิก หากต้องการป้ายทะเบียนคืนจะต้องทำเรื่องขอใหม่ พร้อมชำระภาษีย้อนหลังอีกด้วย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์มีกฎระเบียบที่ต้องพิจารณาอยู่พอสมควร ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อภาษีประเภทนี้ให้ดี รวมไปถึงเงื่อนไขต่าง ๆ โดยเฉพาะการคิดคำนวณค่าใช้จ่าย โดยมีเงื่อนไขสำหรับการต่อภาษีรถดังนี้
- การต่อภาษีรถยนต์ต้องทำการต่อในปีที่ภาษีจะหมดอายุ เจ้าของรถยนต์สามารถต่อภาษีได้ก่อนวันที่ภาษีจะหมดอายุประมาณ 90 วัน หรือ 3 เดือน แนะนำว่าควรวางแผนเวลาเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันการลืม และการจัดสรรงบประมาณเพื่อการต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง
- กรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้าเกินกว่ากำหนด แม้เพียง 1 วัน กฎหมายก็ระบุเอาไว้ว่าเป็นการขาดการต่อภาษีรถยนต์ โดยในระหว่างที่ขาดภาษี 1–3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน เป็นค่าปรับที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ขาดดารต่อ
- กรณีขาดการต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป ป้ายทะเบียนรถยนต์คันนั้น ๆ จะถูกยกเลิกในทันที กรณีต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ ต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนให้กับกรมการขนส่งทางบก พร้อมชำระค่าปรับจึงจะสามารถทำเรื่องเพื่อรับป้ายทะเบียนรถใหม่ได้
- การต่อทะเบียนรถทุกครั้ง กรณีที่รถยนต์มีอายุไม่ถึง 5 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพ แต่หากมีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ต้องเข้ารับการตรวจสภาพเสียก่อนจึงจะต่อภาษีรถยนต์ได้
- เจ้าของรถต้องต่อ พ.ร.บ. หรือ ประกันภัยภาคบังคับสำหรับรถยนต์ก่อน จึงจะสามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ได้

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ภาษีเงินได้-การคำนวณ-คำนวณ-เอกสาร-491626/
การต่อภาษีและ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์
เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ กรมขนส่งได้เปิดให้บริการเจ้าของรถ ด้วยการต่อภาษีรถยนต์ทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเกิดปัญหาขาดการต่อภาษีประจำปี และยังช่วยให้การต่อภาษีเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้เจ้าของรถยังสามารถซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย หรือใช้บริการกับผู้ให้บริการที่เป็นตัวแทนในการนำข้อมูลมาประกอบการต่อภาษีรถได้อีกด้วย
ข้อมูลที่ต้องเตรียมสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ผ่านระบบออนไลน์
- ข้อมูลทะเบียนรถ
- ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์ที่มีอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน
เงื่อนไขสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
- รถที่จะต่อภาษีออนไลน์ต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี (กรณีค้างการชำระภาษีเกิน 1 ปี ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. ก่อน และต้องยื่นชำระภาษีรถยนต์ที่กรมขนส่งเท่านั้น)
- รถที่ขึ้นทะเบียนทุกจังหวัดสามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้
- รถที่ติดแก๊สทุกชนิด ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถตามประกาศกรมขนส่งทางบกก่อน และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น
อัตราภาษีรถยนต์คำนวณอย่างไร
อัตราภาษีรถยนต์จะคิดเหมารวมกัน โดยแบ่งตามรูปแบบการใช้งานของรถประเภทนั้น ๆ เช่น รถใช้งานส่วนบุคคล รถสาธารณะ หรือ รถที่ใช้เพื่อเชิงพาณิชย์ รวมถึงพิจารณาขนาดของเครื่องยนต์ (ระบุเป็นปริมาตร ซี.ซี.) อัตราภาษีรถยนต์ตามมาตรฐานจะคำนวณจากอัตราค่ากระบอกสูบ ดังนี้
- ความจุกระบอกสูบที่ 600 ซี.ซี. แรก อัตราภาษีคิดที่ ซี.ซี. ละ 0.50 บาท
- ความจุกระบอกสูบระหว่าง 601 – 1,800 ซี.ซี. อัตราภาษีคิดที่ ซี.ซี. ละ 1.50 บาท
- ความจุกระบอกสูบ มากกว่า 1,800 ซี.ซี. อัตราภาษีคิดที่ ซี.ซี. ละ 4.00 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ กรณีที่รถยนต์มีขนาด 3,000 ซี.ซี.
600 ซี.ซี. แรก ภาษีคือ 600×0.50 = 300 บาท
601 – 1,800 ซี.ซี.ต่อมาภาษีคือ (1,800 – 600) = 1,200 x 1.50 = 1,800 บาท
ส่วนที่สูงกว่า 1,800 ซี.ซี. ภาษีคือ (3,000 – 1,800) = 1,200 x 4.00 = 4,800 บาท
อัตราภาษีรถยนต์รวมทั้งหมดจะเป็น 300 + 1,800 + 4,800 = 6,900 บาท นั่นเอง
การคำนวณภาษีรถยนต์ยังต้องรวมการตรวจสภาพรถ การต่อ พ.ร.บ. ที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย และนอกจากนั้น กรณีที่รถมีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ดังนี้
- ปีที่ 6 ส่วนลดที่ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ส่วนลดที่ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ส่วนลดที่ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ส่วนลดที่ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ส่วนลดที่ร้อยละ 50
ตัวอย่างเช่น กรณีที่เคยเสียภาษีรถยนต์ทุกปี ปีละ 6,900 บาท ในปีที่ 6 จะได้รับการลดหย่อนภาษีไป 10% ดังนั้นในปีที่ 6 จะเสียภาษีรถยนต์ในอัตรา 6,900 – (6,900 x 10%) = 6,210 บาทเท่านั้น

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/สินเชื่อรถยนต์-การจัดหาเงินทุน-2157347/
Credit By :
commentsmoives.com
fashiontrendth.co
cameragooru.com
lakewoodairductcleaning.com
goorucrypto.com
ComPlayOverwatch.com
pay-smart.co
outletmoncler.org
mymcafeeactivate.com
mixlifestyles.com