ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีประเภทใหม่ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเคยใช้จัดเก็บมาก่อน รายได้จากการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ทั้งหมดจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ของท้องถิ่นทั้งหมด ไม่ต้องพึ่งพารายได้ของรัฐบาล เป็นภาษีใหม่ที่มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2562 และเริ่มมีการจัดเก็บในปี 2563 เป้าหมายเพื่อปรับปรุงระบบภาษีแบบเดิม และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น ๆ มากขึ้น และในปี 2565 นี้ กระทรวงการคลังพิจารณาการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแบบเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่มีการปรับลดมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว เนื่องจากการลดภาษีในช่วงปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นภาระทางการคลังของรัฐบาล
หลักการสำคัญของ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ
- การจัดเก็บภาษีจะพิจารณาจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
- การกำหนดอัตราภาษีเป็นแบบก้าวหน้าตามมาตรฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- เป็นกระบวนการเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
- การกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการชำระภาษีของประชาชน
- การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี อันเชื่อมโยงข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมที่ดิน กรมธนารักษ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เงิน-บ้าน-เหรียญ-การลงทุน-ธุรกิจ-2724235/
ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูงจะต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ
- ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษีที่ดินเพียงอย่างเดียว
- กระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ครอบครองอยู่ไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มรายได้ให้ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้นำรายได้ในส่วนนี้ไปใช้ในการลงทุน และจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สามารถติดตามการใช้จ่ายเงินภาษีซึ่งจัดเก็บจากประชาชนในพื้นที่เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของประชาชนหรือไม่

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/บ้าน-สถานที่ให้บริการ-มือ-เก็บไว้-3963987/
ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ที่ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคือ ผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (ซึ่งรวมถึงห้องชุดคอนโดมิเนียมด้วย) หรือเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่หลังโฉนดที่ดินนั้น ๆ นั่นเอง ดังนั้นกรณีเป็นผู้ที่เช่าบ้าน หรือคอนโดมิเนียม หรือบ้าน โดยไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีประเภทนี้ การนับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินคือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ดังนั้นหากภายในวันที่ 1 มกราคม ผู้ใดมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใด ก็ต้องเสียภาษีสำหรับกรรมสิทธิ์ดังกล่าวภายในปีนั้นด้วย และกรณีที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างมีเจ้าของร่วมกันหลายคน เจ้าของคนใดคนหนึ่งก็สามารถชำระภาษีนี้ได้ในคราวเดียวก็เรียบร้อยแล้ว
การคำนวณอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะได้รับจดหมายแจ้งมูลค่าภาษี แต่ก็สามารถคำนวณภาษีนี้ด้วยสูตรคำนวณดังนี้
ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี
มูลค่าที่ดิน และ มูลค่าสิ่งปลูกสร้างคือราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite
มูลค่ายกเว้น เป็นมูลค่ายกเว้นที่ได้รับการประกาศจากรัฐบาล อย่างปีที่ผ่านมาที่มีการปรับลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเอาไว้ แต่ก็มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีในหลายกรณี ตัวอย่างเช่นการยกเว้นภาษีสำหรับบ้านหลังหลัก (บ้านที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น) กรณีบ้านและที่ดินมีมูลค่า 50 ล้านบาทแรก และเจ้าบ้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เฉพาะตัวบ้าน ไม่รวมถึงที่ดิน จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะ 10 ล้านแรกเท่านั้น แต่กรณีที่มีเจ้าของร่วมกันหลายคน ต้องมีชื่อผู้ใดผู้หนึ่งอยู่ในทะเบียนบ้านนั้นด้วย จึงจะสามารถใช้สิทธิ์เพื่อยกเว้นภาษีได้ การยกเว้นภาษีที่ดินให้กับบุคคลธรรมดาที่ใช้ที่ดินทำเกษตรกรรม แต่ในปี 2565 จะเป็นปีสุดท้ายที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมด ในปี 2566 จะเริ่มยกเว้นเฉพาะที่ดินมูลค่า 50 ล้านบาทแรกเท่านั้น

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/บ้าน-โครงสร้าง-อสังหาริมทรัพย์-1353389/
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละแห่งจะมีอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แยกตามประเภทการใช้งานที่ดินและอาคาร ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท โดยมีอัตราภาษีแตกต่างกัน ดังนี้
- ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เป็นที่ดินเกษตรกรรม เพื่อการบริโภคเอง จัดจำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่จะมีอัตราการเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ สามารถจำแนกที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ 3 แบบ คือ
- ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อนการปลูกพืช
- ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเลี้ยงสัตว์
- ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือทำการประมง
หลายคนสงสัยว่าการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรมีเกณฑ์ใดบ้าง ตามกฏหมายมีการระบุเอาไว้ชัดเจนว่าต้องปลูกต้นอะไรเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ตัวอย่างเช่นการปลูกกล้วยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ หรือปลูกมะนาวไม่น้อยกว่า 50 ต้นต่อไร่ เป็นต้น ซึ่งหากไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด จะถือว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่มีการทำประโยชน์ ซึ่งจะมีอัตราภาษีสูงกว่า
- บ้านพักอาศัย เป็นการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ตัวอย่างเช่น บ้าน ตึกแถว ห้องชุด ยกเว้นแต่ที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนา หรือสร้างแล้วเสร็จตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายอาคารชุด โรงแรม และที่พักชั่วคราวโดยคิดค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงที่พักแบบรายเดือน หรือโฮมสเตย์ อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- บ้านหลังหลัก หมายถึงบ้านที่เจ้าของบ้านและที่ดิน หรือเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์เฉพาะตัวบ้าน (กรณีสร้างในที่ดินของคนอื่น) มีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน) เจ้าของบ้านสามารถใช้สิทธิ์นั้นยกเว้นภาษีสำหรับบ้านหลังหลักคนละ 1 หลังเท่านั้น
- บ้านหลังอื่น ๆ หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด / กรรมสิทธิ์ของห้องชุด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้น ๆ
- ที่ดินเพื่อประโยชน์อื่น ๆ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่นเพื่อการพาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร
- ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นที่ดินที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพ หรือทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า ไม่นำมาใช้ระโยชน์ในปีก่อนหน้าปีภาษี (ยกเว้นที่ดินที่มีกฎหมายห้าม หรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อรอการพัฒนาโครงการ) หากปล่อยให้รกร้างติดต่อกันนาน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 0.3% ทุก ๆ 3 ปี โดยมีอัตราเพดานภาษีรวมกันไม่เกิน 3%
Credit mixhistorys.com rest-review.com gomalwarebytes.com comthehill.com comperaichi.com