ภาษีคืออะไร เรื่องที่คนไทยควรรู้ไว้ ทำไมต้องจ่าย จ่ายไปทำอะไร?

ภาษีคืออะไร (Tax) คือ เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้แก่รัฐบาล หรือสถาบันที่ทำหน้าที่แทนภาครัฐ ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพื่อนำเงินตรา หรือทรัพย์ที่เก็บมาจากประชาชนไปใช้ในการบำรุง ผลักดัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายของระบบราชการ เพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศ กลางคือเป็นรายได้หลักของรัฐเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศเพื่อให้ประชาชนในประเทศเกิดความสุขและสะดวกสบายในการใช้ชีวิต

ภาษีคืออะไร ลักษณะของภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

  1. ภาษีทางตรง คือภาษีผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียให้รัฐโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระนี้ไปให้กับบุคคลอื่นได้ อาทิเช่น ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
  2. ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ต้องรับภาระโดยตรง สามารถแบ่งเบาภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น มักเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
ภาษีคืออะไร

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ภาษีเงินได้-เครื่องคิดเลข-การบัญชี-4097292/

ประโยชน์ของภาษี

                เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้กับรัฐ เงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณะเพื่อประชาชน ตามรายละเอียดต่อไปนี้

  • สร้างความปลอดภัยให้แก่ภาคประชาชน
  • อำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบสาธารณสุข ระบบคมนาคม ฯลฯ
  • สวัสดิการเพื่อการศึกษา
  • สานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
  • ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ

                ประเภทของภาษีที่ประชาชนชาวไทยต้องเจอ

  1. ประชาชนที่ประกอบสัมมาอาชีพ : ภาษีเงินได้ ผู้ที่ประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตาม ทั้งในนามของบุคคลหรือนิติบุคคลล้วนต้องเสียภาษีเงินได้กันทั้งนั้นกรณีลูกจ้างทั่วไปจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินมากกว่า 50,000 บาท (ไม่มีคู่สมรส) หรือมากกว่า 100,000 บาท (กรณีที่มีคู่สมรส) ในช่วงปีภาษีนั้น ๆ ต้องทำการยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ผู้ที่มีภาระต้องเสียภาษีคือผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 3,000 บาทต่อปี
  2. ประชาชนที่มียานพาหนะ : ภาษีรถยนต์ เป็นภาษืที่ต้องชำระเป็นประจำทุกปี โดยเจ้าของรถทุกประเภท ต้องดำเนินการ ต่อ พรบ. และชำระภาษีรถยนต์ตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ. คือการทำประกันภัยภาคบังคับเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมการขนส่งจะใช้เป็นหลักฐานประกอบการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี อัตราภาษีของรถยนต์แต่ละคันจะแตกต่างไปตามประเภทของรถ ทั้งความจุกระบอกสูบ (ซีซี) น้ำหนักของรถยนต์ และอายุการใช้งานรถยนต์ เป็นต้น
  3. การใช้จ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) คือภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้า หรือบริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า หรือบริการนั้น ๆ โดยผู้ประกอบกิจการเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้า ก่อนนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บนี้ไปชำระให้กับกรมสรรพากร คือภาษีที่ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบ เป็นภาษีทางอ้อมที่คนไทยในฐานะผู้บริโภคมีหน้าที่ชำระตามกฎหมาย
  4. บัญชีเงินฝาก : ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ในปัจจุบันภาษีของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำ (บัญชีออมทรัพย์มีอัตรา 0.125 – 1% ,บัญชีเงินฝากประจำ 0.8 – 2.5%) และยังมีข้อยกเว้นกรณีเงินฝากประจำ ประเภทเงินฝากเผื่อเรียกของธนาคารบางแห่งอีกด้วย
  5. การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ : ภาษีเงินปันผล แม้ว่ากำไรจากการขาย หรือโอนหุ้นจะได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ตามกฎหมาย แต่ในกรณีเงินปันผลจะมีอัตราภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลนั้น แต่เป็นอัตราภาษีที่สามารถใช้สิทธิขอคืนภาษีได้ หากรายได้รวมไม่ถึงอัตราตามที่กฎหมายกำหนด และบางกรณีเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น เป็นเงินกำไรสุทธิที่ได้ทำการหักจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว จึงกลายเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน สามารถทำเรื่องขอคืนได้
ภาษีคืออะไร

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/จ่าย-ใบแจ้งหนี้-แม่แบบ-3669963/

  • รายได้เสริม : ภาษีเงินได้ เพราะงานเสริมถือว่าเป็นงานที่มีรายได้ ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติม กรณีขายสินค้าในนามบุคคลจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายสินค้าในนามบริษัทจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรณีการขายสินค้าออนไลน์ที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องคิด Vat 7% รวมไปกับราคาสินค้าที่ขายด้วย
  • กรณีถูกรางวัลลอตเตอรี่ หรือรางวัลชิงโชค : ภาษี ณ ที่จ่ายทันที (เป็นเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ๆ) เงินรางวัลที่ได้รับ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของมูลค่าสินค้า หรือเงินรางวัล และเมื่อครบปีภาษี (ภายในเดือนมีนาคม) เงินรางวัลที่ได้จะถูกรวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินอื่นๆ เพื่อนำไปคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี ต่อไป ดังนั้นกรณีที่ผู้โชคดีมีผลรวมของเงินได้พึ่งประเมิน และเงินรางวัลรวมกันไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี สามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้ หรือทำเรื่องขอคืนภาษี 5% ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายได้
  • กรณีขายบ้าน : ภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย พิจารณาจากราคาประเมิน และจำนวนปีที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้น และมีค่าอากรแสตมป์ 0.5% ที่ผู้ขายต้องเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมการโอนอีก 2% กรณีผู้ขายครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นน้อยกว่า 5 ปี จะมีภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% จากราคาประเมิน หรือราคาตลาดที่สูงกว่า
  • กรณีได้รับมรดด : ภาษีมรดก คือภาษีส่วนบุคคลที่เรียกเก็บเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากผู้ตายไปยังผู้รับมรดก หรือทายาท เป็นภาษีที่พิจารณาตามมูลค่าของมรดกที่ได้รับ มีอัตราไม่เท่ากันขึ้นกับความสัมพันธ์กับผู้ตาย มรดกที่ผู้ได้รับต้องเสียภาษี ได้แก่
  • อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และต่างประเทศ
  • หลักทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ ทั้งที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือต่างประเทศ
  • เงินฝาก หรือเงินในลักษณะเดียวกัน ทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และต่างประเทศ
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทะเบียนตามกฎหมาย ได้แก่รถยนต์ เรือ รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย และต่างประเทศ
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กฎหมายอาจกำหนดเพิ่มเติมในอนาคต
ภาษีคืออะไร
เครดิต:: สล็อตออนไลน์ สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์

Credit by : Ufabet