ประกันสุขภาพ ภาวะการเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้นคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจสามารถหลีกเลี่ยงได้ และยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในปริมาณที่สูงมาก หลายคนอาจกลายเป็นคนมีหนี้สินเมื่อรักษาตัวจนหายขาดจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การทำประกันสุขภาพจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยป้องกันภาระจากค่ารักษาได้ดีที่สุด แต่จำเป็นต้องเลือกทำประกันภัยสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองครอบคลุมตั้งเเต่อาการป่วยแบบธรรมดาไปจนถึงโรคร้ายเเรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตด้วย

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/covid–อายุ-19-หน้ากาก-การป้องกัน-5080953/
ประกันสุขภาพ แนวทางการเลือกให้เหมาะสม และครอบคลุมตามความต้องการ
การเลือกทำสัญญาประกันสุขภาพ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่มีอยู่แล้ว เช่นสวัสดิการประกันสังคม และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทหรือนายจ้างทำเอาไว้ให้เพียงพอกับความต้องการหรือไม่ โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการของโรงพยาบาล เพื่อให้ได้ตัวเลขค่าใช้จ่ายการรักษาโดยประมาณ เพื่อให้ทราบว่ากรณีเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้น ๆ จะมีค่าใช้จ่ายเท่าใด แล้วเปรียบเทียบกับสวัสดิการที่มีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ เพื่อพิจารณาจัดทำกรมธรรม์สุขภาพเพิ่มเติมในส่วนที่อยู่นอกเหนือจากสวัสดิการที่มีอยู่ เผื่อในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรง หรือโรคที่ต้องทำการรักษาติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง การทำประกันภัยสุขภาพ หรือโรคร้ายแรงเพิ่มเติมก็จะมาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้
ปัจจัยในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ
การเลือกซื้อประกันสุขภาพเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างความเสี่ยงด้านสุขภาพ เเละด้านการเงินไปด้วยกัน เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝันเพียงครั้งเดียว อาจส่งผลให้เงินออมที่เก็บสะสมมานานหลายปีหายไปจนหมดได้ ผู้ทำประกันจึงควรเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมตั้งเเต่อาการป่วยเพียงเล็กน้อยไปจนถึงการทุพพลภาพจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก่อนอื่นผู้สนใจทำประกันต้องสำรวจสุขภาพร่างกาย เเละสุขภาพการเงินให้ชัดเจน เพื่อนำข้อมูลสุขภาพไปเลือกประกันที่คุ้มค่าต่อผ็ทำกรมธรรม์มากที่สุด โดยปัจจัยสำคัญในการเลือกประกันสุขภาพคือ
- เบี้ยประกัน เบี้ยประกันคือจำนวนเงินที่ผู้ทำกรมธรรม์ต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันเพื่อทำสัญญาความคุ้มครอง โดยมากแล้วอัตราค่าเบี้ยประกันสุขภาพของแต่ละคนจะปรับเปลี่ยนตามอายุ ความเสี่ยงของผู้ทำประกัน เช่นวัยเด็กหรือวัยชราค่าเบี้ยประกันมักสูงเพราะเด็กมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ นอกจากอายุ เพศ สุขภาพ อาชีพ และการดำเนินชีวิตแล้ว จำนวนผู้เอาประกันภัยก็ส่งผลต่ออัตราเบี้ยประกันด้วยเช่นกัน (กรณีการทำประกันแบบกลุ่ม) เบี้ยประกันยังขึ้นกับอัตราเงินคุ้มครองที่จะได้รับ เเละเบี้ยประกันอาจมีการปรับขึ้นทุก ๆ ปี ฉะนั้นเมื่อจะเลือกทำสัญญาประกันสุขภาพควรตรวจสอบอัตราค่าเบี้ยประกันตลอดอายุสัญญา ว่าเหมาะสมกับรายรับ เเละค่าใช้จ่ายของผู้ทำสัญญาด้วย
- วงเงินคุ้มครอง การเจ็บป่วยคือสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก การคาดการณ์ถึงงกรณีที่ร้ายเเรงที่สุดก็เพื่อคาดการณ์ว่าควรทำประกันสุขภาพที่มีวงเงินคุ้มครองเท่าใด ถึงจะครอบคลุมค่ารักษาที่ต้องการได้ทั้งหมด เพราะแม้ว่าจะมีการทำกรมธรรม์สุขภาพเอาไว้ เเต่บางกรณีค่ารักษาจากกรมธรรม์อาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องจ่ายส่วนต่างตรงนี้เพิ่มเติม การพิจารณาประกันสุขภาพจากวงเงินคุ้มครองจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ไก่อภาระทางการเงินกับผู้ทำสัญญากรมธรรม์ด้วย

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/vectors/ประกันภัย-การป้องกัน-ความปลอดภัย-5798050/
- ความเสี่ยง คือความเสี่ยงที่มีโอกาสส่งผลต่อสุขภาพ อาจเนื่องมาจากพฤติกรรมส่วนตัว กรรมพันธุ์ หรือโรคประจำตัว เนื่องจากประกันเเต่ละประเภทจะให้ความครอบคลุมไม่เหมือนกัน หากทำการประเมินความเสี่ยงของตนเองต่อโรคร้ายแรงต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถเลือกซื้อประกันที่เหมาะสม เช่นหากคนในครอบครัวมีกรรมพันธุ์ของโรคหัวใจ เเสดงว่ามีความเสี่ยงสูง ควรเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงโรคหัวใจ เพื่อครอบคลุมความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
- การคุ้มครอง เมื่อเจ็บป่วยเเต่ละครั้งก็จะเกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ทั้งค่าห้องรักษา ค่าผ่าตัด ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น หรือแม้แต่อาการเจ็บป่วยธรรมดาที่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จึงควรเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน เเละผู้ป่วยนอกที่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และครอบคลุมตั้งเเต่ป่วยเล็กน้อยจนถึงโรคร้ายเเรง ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ไม่จำกัดค่ารักษาพยาบาล หรือแบ่งเป็นกลุ่มโรคร้ายที่มีค่าเบี้ยกรมธรรม์แตกต่างกันอีกด้วย
- กระเเสเงินสดของผู้ทำกรมธรรม์ เมื่อซื้อประกันสุขภาพ ผู้ทำกรมธรรม์ก็ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันตามที่สัญญาระบุ เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมาจากการใช้ชีวิตตามปกติ ดังนั้นจึงควรเป็นเงินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกับค่าใช้จ่ายตามปกติ เพราะประกันที่ทำคือการสร้างความอุ่นใจด้านสุขภาพในอนาคต ไม่ควรส่งผลกระทบต่อการเงินในปัจจุบัน
- โรงพยาบาลที่ให้การรักษา การรักษาภายใต้ประกันสุขภาพของรัฐบาลจะกำหนดโรงพยาบาลที่ทำการรักษาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่บางครั้งการเจ็บป่วยอาจไม่ได้เกิดขึ้นใกล้โรงพยาบาลทำกำหนดเสมอไป เช่นการเจ็บป่วยตอนไปต่างจังหวัด จึงควรเลือกประกันสุขภาพเสริมเพิ่มเติม เพื่อให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้หลากหลายมากขึ้น เป็นการครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพในทุกพื้นที่

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ประกันภัย-สุขภาพ-การ์ด-ทางการแพทย์-3906680/
การทำประกันสุขภาพเหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่มีสุขภาพดี แต่มีข้อกังวลว่าตนเองอาจมีความเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ช่วยให้การทำประกันสุขภาพเป็นการลงทุนด้านสุขภาพที่คุ้มค่า เพราะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพภายใต้โรงพยาบาลที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์สุขภาพด้วย
- วัยทำงาน ควรมองหาประกันสุขภาพเพิ่มติมจากสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดจากการทำงาน เช่น ภาวะออฟฟิศซินโดรม หรือภาวะเครียดที่ทำให้เป็นโรคความดันสูง เป็นต้น
- เจ้าของกิจการ เเม้เจ้าของกิจการจะมีรายได้ที่สูงกว่าพนักงานกินเงินเดือนทั่วไป เเต่ก็มักจะต้องทำงานหนักกว่าด้วย มักทำให้ละเลยต่อสุขภาพของตนเอง เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา นอนดึก หรือมีความเครียดสูง ดังนั้นแม้ว่าจะไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน แต่การทำประกันสุขภาพก็นับเป็นการบริหารความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายได้เป็นอย่างดี
- ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี การทำประกันสุขภาพนอกจากจะให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพเเล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีด้วย โดยประกันสุขภาพที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษี ต้องมีลักษณะดังนี้
- ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยเเละบาดเจ็บ เช่น ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ
- ประกันภัยโรคร้ายเเรง
- ประกันภัยที่ให้การดูเเลในระยะยาว