ประกันสังคม คือวิธีหนึ่งในการสร้างหลักประกันเพื่อการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน ผู้ประกันตนมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคม เพื่อนำเงินในส่วนนี้ไปใช้เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วย การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย การสงเคราะห์บุตร เงินที่ใช้ยามชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่ดี และมีรายได้มาจับจ่ายใช้สอบอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการทำประกันจะเป็นค่าใช้จ่ายที่คนทำงานเกือบทุกคนล้วนต้องรับผิดชอบ แต่หลายคนกลับไม่ทราบรายละเอียดของประกันสังคมมากนัก รู้แค่ว่าเป็นภาระที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน แต่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องจ่าย แต่ทำแล้วจะได้สิทธิประโยชน์ใดบ้าง จนบางคนอาจรู้สึกว่าการจ่ายเงินประกันนี้เป็นภาระที่ไม่จำเป็นเลย เพราะแทบไม่เคยใช้สิทธิใด ๆ เลย จึงขอทำความเข้าใจเพื่อให้ทราบถึงสิทธิประโยชน์
ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ของประกันนี้ ดังนี้

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การป้องกัน-ตระกูล-สังคม-ชุมชน-5080948/
ประเภทของกองทุนประกันสังคม มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- พนักงานเอกชนทั่วไป เป็นมาตราประกันตน 33 ได้รับความคุ้มครองรวม 7 กรณี
- กรณีเคยเป็นพนักงานเอกชนแต่ลาออก เป็นมาตราประกันตน 39 ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
- ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ เป็นมาตราประกันตน 40 ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี
ผู้ประกันสังคมแต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีหน้าส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยความแตกต่างของผู้ประกันตนแต่ละประเภทสามารถสรุปตามสิทธิประโยชน์ และคุณสมบัติของผู้ประกันตน ดังต่อไปนี้
ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33)
- ผู้ทำประกันสังคมประเภทนี้ คือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป มีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีพนักงานจำนวนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ตามสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้างสมทบ 5% นายจ้าง 5% และรัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง โดยมีขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และอัตราเงินสมทบสูงสุดที่ลูกจ้างต้องส่งให้ประกันสังคมคือ 750 บาท/เดือน สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคบังคับหรือมาตรา 33 นี้จะได้รับความคุ้มครอง ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีคลอดบุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน ตัวอย่างการคำนวนอัตราเงินสบทบคือกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับเงินเดือน 10,000 บาท จะถูกหักเงินเพื่อนำส่งยังสำนักประกันสังคมจำนวน 500 บาท หากได้เงินเดือน 15,000 บาท จะถูกหักเงินเพื่อนำสบทบกับกองทุนประกันสังคม 750 บาท แต่หากเงินเดือนสูงกว่า 15,000 บาท เงินสบทบก็จะยังเป็น 750 บาท เนื่องจากเป็นอัตราเงินสมทบสูงสุด
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
- กรณีเจ็บป่วย หากเจ็บป่วยทั่วไป ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลตามอาการ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุทางสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้
- กรณีทุพพลภาพ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม แต่หากเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยนอกสามารถจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงได้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท แต่กรณีผู้ป่วยในจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
- กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนสามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ทุกโรงพยาบาล การเบิกค่าทำคลอด ผู้ประกันตนทั้งชาย -หญิง สามารถเบิกค่าคลอดแบบเหมาจ่ายได้ 13,000 บาทต่อการคลอดแต่ละครั้ง ส่วนผู้ประกันตนหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อหยุดงานหลังคลอด 50% ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน
- กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ทำประกันสังคมจะได้รับเงินเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน โดยสามารถรับได้ตั้งบุตรแรกเกิดจนมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยได้ตามจำนวนบุตรคราวละไม่เกิน 3 คน
- กรณีชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ก็จะได้รับเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ ซึ่งเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเทียบเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายไป กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน ก็จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบไป ส่วนเงินบำนาญชราภาพ กรณีจ่ายเงินประกันสังคมสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญกรณีชราภาพ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างที่เฉลี่ยจากค่าจ้างที่ได้รับในช่วง 60 เดือนสุดท้าย แต่กรณีที่จ่ายเงินสมทบมานานกว่า 180 เดือน จะมีการปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 12 เดือน
- กรณีเสียชีวิต เมื่อจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 1 เดือน และเกิดกรณีเสียชีวิตภายใน 6 เดือน จะได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตในกรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน และได้รับเงินอีก 50 %ของค่าจ้างเฉลี่ยนาน 4 เดือน เมื่อส่งเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
- กรณีว่างงาน เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากว่างงานจากการลาออก หรือสิ้นสุดสัญญา จะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้างเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน แต่กรณีที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลานานไม่เกิน 180 วัน/ปีปฏิทิน การคำนวณพิจารณาจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยจะต้องขึ้นทะเบียนการว่างงานผ่านระบบของกรมการจัดหางานภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่การสิ้นสุดการทำงาน

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/รถพยาบาล-ห้องทำแผล-แตกหัก-ใช้ไม้ค้ำ-5239848/
ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39)
- ผู้ประกันตนมาตรานี้คือบุคคลที่เคยเป็นพนักงานในบริษัทเอกชน และอยู่ในมาตรา 33 มาก่อน จากนั้นได้มีการลาออกจากการเป็นพนักงาน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิของประกันสังคมเอาไว้ สามารถสมัครเพื่อใช้สิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แทน ผู้สมัครมาตรนี้ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ เพราะทางกองทุนประกันจะมีสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพอยู่แล้ว อัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุนคือ 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบช่วยอีก 120 บาทต่อเดือน วิธีการคำนวณเงินสมทบคือเดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายอยู่ที่ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
- ความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ เช่นเดียวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่กรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ได้งานในสถานประกอบการหรือมีนายจ้างใหม่) นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่จำเป็นต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แต่อย่างใด ยกเว้นแต่กรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการค้างชำระเงินสมทบเอาไว้ จะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออกด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมที่สมัครมาตรา 39 เอาไว้
ช่องทางการสมัคร เป็นผู้ประกันสังคมตามมาตรา 39
ผู้ประกันตนสามารถยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกจากงาน โดยสถานที่ยื่นใบสมัครคือสำนักงานประกันสังคมตามเขตพื้นที่ที่ผู้ประกันตนสังกัดอยู่

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ประกันภัย-ชีวิต-ปกป้อง-ช่วย-4004023/
ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40)
- ผู้ประกันตนมาตรานี้ คือบุคคลที่ไม่ได้เป็นพนักงานในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มาก่อน โดยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 2 ชุดคือ
- ความคุ้มครองแบบ 3 กรณี – สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 100 บาท ต่อเดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 70 บาท รัฐบาลสมทบอีก 30 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีที่เสียชีวิต
- ความคุ้มครองแบบ 4 กรณี – สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 150 บาท ต่อเดือน (ผู้ประกันตนจ่ายเอง 100 บาท รัฐบาลสมทบอีก 50 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ
- ความคุ้มครองแบบ 5 กรณี – สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 450 บาท ต่อเดือน ผู้ประกันตนจ่ายเอง 300 บาท รัฐบาลสมทบอีก 150 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร Ufabet เว็บหลัก