ประกันสังคมมาตรา 40 ข้อควรรู้ของผู้ประกันตน มาตรานี้

                ประกันสังคมมาตรา 40 คือผู้ประกันตนที่มีอาชีพเป็นฟรีแลนซ์ เป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการ กล่าวคือเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะต้องทำประกันสังคมภาคสมัครใจเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในเรื่องของการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และอื่น ๆ ตามสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ทำงานนอกระบบได้รับการส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ ฟรีแลนซ์หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นับเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ช่วยให้แรงงานหลายคนได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าเดิม และใกล้เคียงกับประกันสังคมในมาตรา 39 เลยทีเดียว

ประกันสังคมมาตรา 40

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ชาย-แล็ปท็อป-งาน-nomad-ดิจิตอล-4749237/

รูปแบบของ ประกันสังคมมาตรา 40

ในปัจจุบันประกันสังคมมาตรา 40 มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ตามวงเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุน โดยแบ่งได้ ดังนี้

  1. รูปแบบที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท โดยผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท ส่วนรัฐบาลจ่ายสมทบให้อีก 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน 100 บาท โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานจากการคุ้มครองใน 3 กรณีคือ
  2. เงินรายได้ทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
  3. เงินทดแทนเมื่อเกิดทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน
  4. เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีที่เป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน)
  5. รูปแบบที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบให้อีก 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานในการคุ้มครอง 4 กรณีคือ
  6. เงินทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
  7. เงินทดแทนเมื่อเกิดทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน
  8. เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีที่เป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือน)
  9. เงินบำเหน็จกรณีชราภาพซึ่งจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี เมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน
  10. รูปแบบที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท โดยผู้ประกันตนจ่ายค่าประกันตน 300 บาท ส่วนรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน 450 บาท ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองมากถึง 5 กรณีเลยทีเดียว และมีความใกล้เคียงกับผู้ประกันตนมาตราที่ 33 และ 39 ได้แก่
  11. เงินทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วย โดยเฉพาะเมื่อนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะได้รับวันละ 300 บาท กรณีที่แพทย์สั่งให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยรายได้วันละ 200 บาท
  12. เงินทดแทนเมื่อเกิดทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน (ได้รับไปตลอดชีวิต)
  13. เงินค่าทำศพ 50,000 บาท
  14. เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่บุตรแรกเกิด จนมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์ (บุตรไม่เกิน 2 คนต่อผู้ประกันตนแต่ละคน)
  15. เงินบำเหน็จกรณีชราภาพ ซึ่งจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน
ประกันสังคมมาตรา 40

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ประกันเงินบำนาญ-แบบฟอร์ม-เงิน-2296606/

เงื่อนไข และคุณสมบัติในการสมัครเพื่อรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

  • ผู้ที่มีสัญชาติไทย
  • อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์ หรือผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน หรือมีการทำประกันสังคมมาตรา 33 อยู่แล้ว
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
  • ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวแต่ไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6, 7 ยกเว้น 00

วิธีการสมัครเพื่อรับประกันสังคมมาตรา 40

การสมัครเพื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถสมัครด้วยตนเองได้ตลอดเวลา โดยสมัครผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม www.sso.go.th จากนั้นเลือกทำการลงทะเบียนเป็นผู้ทำประกันสังคมมาตรา 40 โดยกรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น เลือกรูปแบบเงินสมทบที่ต้องการจ่ายทุกเดือน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 70 บาท 100 บาท และ 300 บาท จากนั้นระบบจะทำการยืนยันผลการสมัครผ่าน SMS เมื่อได้รับ SMS แล้ว ผู้ประกันตนสามารถชำระเงินค่าลงทะเบียนได้ที่ธนาคาร หรือหน่วยงานที่ประกันสังคมกำหนด หากสงสัยสามารถสอบถามไปที่ประกันสังคม หรือโทร. 1506

หลักฐานประกอบการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 มีเพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่ที่ชัดเจน และแบบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (แบบฟอร์มสปส.1-40) สามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้าเว็บไซต์ของประกันสังคม

วิธีการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันสังคมมาตรา 40 สามารถเลือกจ่ายเงินสมทบได้ทั้งแบบเงินสด หรือเลือกหักเงินผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน กรณีชำระด้วยเงินสด สามารถจ่ายได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่นั้น ๆ ธนาคาร หรือหน่วยงานที่ประกันสังคมแจ้งเอาไว้ ส่วนกรณีหักผ่านบัญชีธนาคารมีธนาคารที่รองรับคือ

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ประกันสังคมมาตรา 40

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ตระกูล-การป้องกัน-มือ-บ้าน-593188/

สิทธิประโยชน์สำหรับประกันสังคมมาตรา 40

สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน

กรณีประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย เมื่อนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ต่อเนื่องไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขเมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ส่วนกรณีทุพพลภาพ จะรับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานต่อเนื่อง 15 ปี โดยเงื่อนไขการรับเงินทดแทนการขาดรายได้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป (เป็นผู้ทุพพลภาพ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการทางการแพทย์) กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไขเมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต แต่กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไขจะเป็นการจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต กรณีชราภาพจะได้รับเงินบำเหน็จ ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 40 มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะถือว่าสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ส่วนกรณีเงินบำนาญ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนด้วย และต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 420 เดือน หรือ 35 ปี จึงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ไปจนตลอดชีวิต

                สิทธิประโยชน์อื่น ๆ จะขึ้นกับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนเลือกในการสมัครเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วขั้นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการทำประกันสังคมตามมาตรา 40 นั้นกำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ และเงินฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ตามสวัสดิการที่รัฐกำหนด ซึ่งเมื่อเทียบอัตราเงินสมทบกับเบี้ยประกันกับบริษัทเอกชนจะเป็นอัตราที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้ประกันตนมากเกินไปนั่นเอง Ufabet เว็บหลัก

Credit by : Ufabet