ประกันสังคมมาตรา 39 ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรานี้

ประกันสังคมมาตรา 39 คือผู้ประกันตนภาคสมัครใจ เป็นบุคคลที่เคยทำงาน และเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แต่เมื่อออกจากงานแล้วยังต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมเอาไว้ เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเข้ากองทุนคือ 432 บาท/เดือน โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งในกรณีที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ถึง 9 เดือน จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ทันที

ประกันสังคมมาตรา 39 มีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกันสังคมมาตรา 39 จะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจะต้องจ่ายเงินสมทบมาก่อนหน้านี้แล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานที่เคยทำไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงานล่าสุด รวมไปถึงไม่เป็นผู้รับผลประโยชน์ในกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคมอยู่แล้วด้วย

ประกันสังคมมาตรา 39

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ประกันภัย-ประกันชีวิต-หัวใจ-451282/

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันสังคมมาตรา 39

จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ตามผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้แก่กรณีเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ยกเว้นสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพียงอย่างเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีเจ็บป่วย

ผู้ประกันตนจะได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่คณะกรรมการทางการแพทย์ฯ กำหนด ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี โดยเข้ารับบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ์เอาไว้ให้

กรณีเจ็บป่วยปกติ

สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่กำหนดเอาไว้ตามสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ๆ ได้ฟรี ไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งในกรณีที่เป็นผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน

กรณีที่ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

และเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐ:หากเป็นผู้ป่วยนอกสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง กรณีเป็นผู้ป่วยใน ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาที่รักษาตัวในโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่นับรวมวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน:ผู้ป่วยนอกสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาท โดยเป็นการตรวจรักษาตามรายการที่ประกาศโดยคณะกรรมการการแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน ที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ส่วนค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท แต่ในกรณีที่รักษาในห้อง ICU สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมกันไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ สามารถเบิกค่ารักษาได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท ค่ายา และค่าอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ส่วนค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าเอกซเรย์ สามารถเบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีที่ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าขั้นวิกฤต

สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องสำรองค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภายในระยะเวลาการรักษา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การทำทันตกรรม

กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน หรือผ่าฟันคุด สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 900 บาท/ปี กรณีใช้ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน สามารถเบิกรับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดยจำนวนฟัน 1 – 5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท แต่กรณีที่มากกว่า 5 ซี่ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท ส่วนฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนบนหรือล่าง สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ครั้งละไม่เกิน 2,400 บาท และโดยคิดรวมทั้งปากไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม โดยผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์

ประกันสังคมมาตรา 39

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ชาย-เทคโนโลยี-ผู้ใหญ่-คนไข้-3085900/

กรณีคลอดบุตร

  • ผู้ประกันตนหญิง จะได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท โดยไม่จำกัดสถานพยาบาล และจำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์กรณีหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน (กรณีเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้งต่อผู้ประกันตนแต่ละคน) ส่วนผู้ประกันตนชาย ซึ่งมีภรรยาที่จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือมีบุตรกับหญิงที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา จะได้รับเงินค่าคลอดของบุตร 15,000 บาท พร้อมเบิก ค่าตรวจและฝากครรภ์ ได้สูงสุด 1,500 บาท แต่ต้องเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดบุตร และในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้แค่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร หรือจำนวนครั้งในการเบิก

กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันสังคมมาตรา 39

  • จะได้เงินทดแทนการขาดรายได้ โดยกรณีทุพพลภาพระดับเสียหายไม่รุนแรง จะได้เงินทดแทนกรณีขาดรายได้ 30% หรือในส่วนที่รายได้ลดลง ไม่เกิน 30% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 180 เดือน ส่วนกรณีที่ทุพพลภาพระดับรุนแรง จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างรายวันไปตลอดชีวิต

กรณีเสียชีวิต กรณีที่ผู้ประกันสังคมมาตรา 39

  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพอีก 50,000 บาท แต่กรณีที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมได้รับค่าทำศพอีก 50,000 บาท โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิในส่วนนี้

กรณีชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ

  • คือเงินที่ประกันสังคมจะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิตของผู้ประกันสังคมมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) แล้ว จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่เคยได้รับ กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่มอีก 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก ๆ 12 เดือน ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพ คือเงินที่จ่ายเป็นก้อนเพียงครั้งเดียว โดยในกรณีที่ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนที่ผู้ประกันตนส่งเข้ากองทุน ส่วนกรณีที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน พร้อมผลตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่ได้รับสิทธิเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้าย โดยผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนจึงจะได้รับสิทธิชราภาพ

กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันสังคมมาตรา 39

  • จะได้รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ สามารถเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน โดยผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์

เมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ต้องกลับเข้าทำงาน และเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 อีกครั้ง จำเป็นต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้ประกันตนไม่ต้องดำเนินการอะไร เพราะเมื่อผู้ประกันสังคมมาตรา 39กลับเข้าทำงาน ทางนายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจจะเป็นผู้ดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้เอง โดยต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เข้าทำงาน โดยที่ผู้ประกันไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีที่ค้างชำระเงินสมทบเอา

ประกันสังคมมาตรา 39

Ufabet เว็บหลัก

Credit by : Ufabet