ประกันสังคมมาตรา 33 ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรานี้

               ประกันสังคมมาตรา 33 คือ1ในมาตราของสำนักงานประกันสังคม การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน ที่พนักงานบริษัททุกคนจะต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลเกือบทั่วโลกมักจะทำระบบประกันสังคมพื้นฐานนี้เอาไว้

ประกันสังคมมาตรา 33 เป็นหลักให้ประชาชนได้พึ่งพาตั้งแต่เกิดจนตาย

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ประกันภัย-ตระกูล-การป้องกัน-ผู้คน-1991216/

                หลักการทำประกันสังคมมาตรา 33 มีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. ระบบความคุ้มครองแบบเฉลี่ยการช่วยเหลือและเงินสมทบระหว่างสมาชิก ซึ่งโดยทั่วไปรัฐบาลของทุกประเทศจะให้ความสำคัญกับบุคคลที่ทำงานมีรายได้ และอยู่ในระบบแรงงานก่อน แต่ในปัจจุบันได้ขยายความคุ้มครองไปยังผู้ที่มีรายได้นอกระบบการจ้างงานตามปกติ หรือที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า แรงงานนอกระบบ
  2. เงินสมทบที่จ่ายไปนั้นจะสะสมเข้าเป็นกองทุน ซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์เฉพาะกับบุคคลที่ส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่าผู้ประกันตนนั่นเอง
  3. การเก็บเงินสมทบ ซึ่งเป็นการเก็บจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดเอาไว้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้เป้าหมายของการทำประกันสังคมคือความครอบคลุมทั่วถึงบุคคลากรทุกคนในชาติ ระบบประกันสังคมถูกแบ่งเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน กองทุนประกันสังคมคือกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนในเรื่องของผลประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย รวมทั้ง กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน การทำประกันสังคมมาตรา 33 ควรยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด
  4.  นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่เข้าทำงาน จะต้องขึ้นทะเบียนโดยนายจ้างให้กับลูกจ้าง ภายใน 30วัน นับตั้งแต่ที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานด้วย โดยขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือขึ้นทะเบียนผ่านเว็ปไซด์ www.sso.go.th
  5. หลักฐานในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 33
  6. สำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชน
  7. ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงาน
  8. ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวที่มีบัตรประจำตัวที่กรมการปกครองออกให้ หรือผู้ประกันตนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  9. การแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนจะทำในกรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง โดยนายจ้างต้องแจ้งการออกจากงานของลูกจ้างภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
  10. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกรณีที่ผู้ทำประกันสังคมมาตรา 33เปลี่ยนแปลงชื่อ – นามสกุล หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ จะต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
  11. กองทุนเงินสมทบ คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้าง จะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน จำนวนเงินสมทบจะคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดตามฐานค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง วิธีการนำเงินเข้ากองทุนโดยลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ลูกจ้างจะถูกนายจ้างหักจากค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 ส่วนนายจ้างก็จะร่วมจ่ายเงินสมทบเท่าจำนวนที่ได้รับจากลูกจ้าง คืออัตราร้อยละ 5 ด้วยเช่นกัน ส่วนรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 2.75

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ประกันสังคม-ประกันภัย-การดูแลสุขภาพ-4308238/

                ผู้ทำประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี

  1. กรณีเจ็บป่วย
  2. กรณีเสียชีวิต
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีคลอดบุตร
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ
  7. กรณีว่างงาน

                เงื่อนไขการรับสิทธิในแต่ละกรณีจะแตกต่างกัน กรณีเจ็บป่วย ผู้ทำประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับสิทธิ์เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ก่อนเข้ารับบริการทางการแพทย์ กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ก่อนถึงเดือนที่คลอดบุตร โดยได้รับสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท และเงินสงเคราะห์กรณีหยุดงานเพื่อคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง หากเป็นผู้ประกันตนชายสามารถยื่นเบิกเพื่อขอรับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายได้เพียงอย่างเดียว กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือนและเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน ๆ ละ 800 บาทต่อเดือน และบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์

                กรณีที่ผู้ประกันสังคมมาตรา 33 ลาออกจากงาน จะได้สิทธิ์ โดยที่อายุยังไม่ถึงวาระเกษียณ สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอสิทธิ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ขอใช้สิทธิประกันสังคมต่ออีก 6 เดือน เมื่อผู้ทำประกันสังคมมาตรา 33 ขอลาออกจากงาน และไม่ได้ต่อประกันสังคมกับที่ทำงานใหม่ สามารถขอใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อไปได้อีก 6 เดือน โดยสิทธิประโยชน์ในกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม
  2. การเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตราอื่น เพื่อให้สามารถรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมได้อย่างต่อเนื่อง โดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเคยเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 33 มาก่อน และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ระบุเอาไว้เอกสารลาออก ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นั้น เป็นการประกันตนแบบสมัครใจ ซึ่งผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้ส่งเงินสมทบเอง และได้รับความคุ้มครองเหมือนมาตรา 33 ทั้ง 6 กรณี คือกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ และกรณีเสียชีวิต ยกเว้นแต่กรณีว่างงานเท่านั้น
  3. สิทธิ์เงินชดเชยในกรณีว่างงาน ต้องเผ็นผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานตามขั้นตอนปกติ (ไม่รวมในกรณีที่ถูกไล่ออก หรือบริษัทเลิกกิจการ) โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดการขอรับเงินชดเชย ดังนี้
  4. ผู้ประกันสังคมมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่จะว่างงาน
  5. ระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  6. เมื่อลาออกจากงานแล้วต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของกรมแรงงาน โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาออก
  7. รายงานตัวตามกำหนดนัดหมายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตามที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง
  8. ผู้ลงทะเบียนว่างงานตามขั้นตอนที่กำหนด จะมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ยในปีนั้น โดยฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่นกรณีที่ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ยที่ 15,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 4,500 บาท

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การผ่าตัด-โรงพยาบาล-1807541/

                การลาออกที่ประกันสังคมมาตรา 33 ให้ความคุ้มครองนั้นรวมถึงการลาออกโดยมีที่ทำงานใหม่รองรับด้วย โดยในช่วงระยะเวลาที่กำลังรองานใหม่ ผู้ประกันตนควรรู้เรื่องสิทธิ์ที่พึงได้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองให้ได้มากที่สุดด้วย Ufabet เว็บหลัก

Credit by : Ufabet