ประกันชีวิต เลือกประกันชีวิตอย่างไรให้คุ้มค่า

ประกันชีวิต หากพูดถึงหลักการวางแผนทางการเงินที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ประกันชีวิตนับเป็นวิธีการที่ถูกจัดอยู่ในประเภทของการลงทุนที่ช่วยบริหารความเสี่ยงจึงนับเป็นวิธีการทางการเงินที่สำคัญที่สุด การเลือกประกันที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรจัดการเป็นอันดับแรก ๆ ในการวางแผนการเงิน เพราะชีวิตของคนเรามีความเสี่ยงตลอดเวลา และไม่มีใครสามารถคาดเดาอนาคตได้ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับคนในครอบครัว หรือต่อตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ มักก่อให้เกิดรายจ่ายที่ไม่สามารถควบคุมได้จนกระทบกับเงินก้อนอื่นของเราได้ ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

การทำ ประกันชีวิต เป็นการโอนความเสี่ยงในชีวิตให้บริษัทประกันช่วยรับผิดชอบ การเลือกประกันที่เหมาะสมจึงสำคัญมาก

                ประโยชน์อีกประการหนึ่งของประกันชีวิตคือเป็นมรดกให้ลูกหลานที่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะการทำประกันคือการนำเงินก้อนไปส่งมอบให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ผู้เอาประกันระบุเอาไว้ในสัญญา เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนครบกำหนดสัญญา จึงถือเป็นหลักประกันที่ช่วยเป็นหลักประกันให้คนข้างหลังได้ดี

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/skyworkers-คนงาน-อาคาร-การทำงาน-4267797/

ประกันชีวิตมีกี่ประเภท เลือกอย่างไรให้เหมาะกับแต่ละคน

                ประเภทของประกันชีวิตตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือแบบประกันชีวิตพื้นฐาน  และแบบประกันชีวิตพิเศษ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกันชีวิตพื้นฐาน มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือ Term Insurance

  • เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น การเลือกประกันแบบนี้บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้ทำประกันเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากผู้ทำประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดของประกัน ก็จะไม่ได้รับทุนประกันคืน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตเป็นพิเศษในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ที่มีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยน้อย แต่ต้องการความคุ้มครองสูง ๆ และเหมาะกับผู้ที่ต้องการบริหารความเสี่ยงภายในระยะเวลาอันสั้น

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ Whole Life

  • เป็นประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิตแบบระยะยาว เช่นให้ความคุ้มครองจนผู้ทำประกันอายุครบ 85 ปี 90 ปี หรือ 99 ปี โดยจ่ายเบี้ยเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ให้ความคุ้มครองจนถึงอายุ 99 ปี เมื่อจ่ายเบี้ยประกันครบ 20 ปีแรก เป็นต้น การเลือกประกันชีวิตแบบนี้ หากผู้ทำประกันมีชีวิตครบตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้ทุนประกันคืน แต่หากเสียชีวิตในระยะเวลาที่คุ้มครอง ผู้รับผลประโยชน์ก็จะเป็นผู้รับเงินทุนประกันชีวิตแทน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นเสาหลักของบ้าน เพื่อใช้เป็นหลักประกันให้กับคนข้างหลัง ผู้ที่ต้องการทำประกันเป็นมรดกส่งต่อให้กับลูกหลาน

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือ Endowment

  • เป็นประกันที่เน้นการออมเงินเผื่อใช้ในอนาคต ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว การเลือกประกันแบบนี้จะช่วยให้ได้เงินคืนพร้อมกับอัตราผลตอบแทนที่มากกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป ซึ่งผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนที่แน่นอนตามที่บริษัทประกันระบุเอาไว้ในสัญญา นอกจากนี้ยังได้รับความคุ้มครองชีวิตเหมือนประกันชีวิตแบบอื่น ๆ ด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน แต่ไม่ชอบความเสี่ยง ผู้ที่ต้องการเก็บออมเงินไว้ใช้ในอนาคต ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองไปพร้อม ๆ กับการออมเงิน

ประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือ Annuity

  • เป็นประกันที่บริษัทประกันจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อเกษียณอายุ หรือเมื่อมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป โดยผู้ทำประกันต้องจ่ายเบี้ยจนกว่าจะถึงช่วงอายุที่กำหนด หลังจากนั้นก็จะได้รับเงินคืนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบกำหนดอายุตามที่สัญญาระบุเอาไว้ ผลตอบแทนที่ได้อาจไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประกันแบบสะสมทรัพย์ แต่ก็ช่วยให้ได้รับความคุ้มครองชีวิตเหมือนประกันชีวิตแบบอื่น ๆ เช่นในกรณีที่ผู้ทำประกันเสียชีวิตก่อนเกษียณ ผู้รับประโยชน์ก็จะได้รับเงินตามทุนประกันชีวิตที่สัญญาระบุไว้ แต่กรณีที่เสียชีวิตหลังเกษียณก็จะได้รับทั้งเงินบำนาญ และผลประโยชน์ตามทุนประกันอีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนชีวิตเกษียณ ผู้ที่อยากมีรายได้แน่นอนหลังเกษียณ

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/vectors/รถยนต์-อุบัติเหตุ-เหยื่อ-ประกันภัย-6808872/

บางคนอาจสนใจประกันชีวิตแค่เรื่องของการลดหย่อนภาษี หรือเพื่อคนในครอบครัวเท่านั้น 

แต่ความจริงแล้วการทำประกันมีความหลากหลายมาก แนวทางการเลือกซื้อประกันให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุจึงมีความสำคัญ ดังนี้

ช่วงเด็กถึงวัยรุ่น (0-20 ปี)

  • ช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ปี มักมีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย ผู้ปกครองควรพิจารณาทำประกันสุขภาพให้เด็ก เพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลในยามที่เด็กเจ็บป่วย แต่เมื่อโตขึ้นมาจนถึงช่วงวัยรุ่น ควรทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติม เพราะการใช้ชีวิตของวัยรุ่นมักโลดโผน เสี่ยงอันตรายอยู่บ่อย ๆ

ช่วงวัยทำงานตอนต้น (21-30 ปี)

  • ช่วงเริ่มการทำงาน เป็นช่วงที่รายได้ยังไม่สูง อยู่ในช่วงการสร้างเนื้อสร้างตัว จึงควรให้ความสำคัญกับการออมเงิน และเมื่อเริ่มมีรายได้ ก็จะเริ่มต้องเสียภาษีด้วย ช่วงวัยนี้จึงเหมาะสำหรับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อสร้างวินัยการออม พร้อมสิทธิ์ลดหย่อนภาษีด้วย และเมื่อเก็บเงินไปได้สักระยะ แนะนำให้ทำประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองในระยะยาวเพิ่มเติมด้วย เพราะช่วงวัยนี้ค่าเบี้ยประกันจะถูกกว่าช่วงวัยอื่น ทำให้มีความคุ้มค่าไปจนตลอดอายุของสัญญา ช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับสวัสดิการการทำงาน หรือหากเจ็บป่วยก็จะได้รับความคุ้มครองแบบอัตโนมัติอีกด้วย

ช่วงวัยทำงานตอนกลาง หรือช่วงสร้างครอบครัว (31-45 ปี)

  • การทำประกันชีวิตสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยนี้ ควรเป็นประกันแบบเน้นความคุ้มครองชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ เช่นกรณีที่หัวหน้าครอบครัวเกิดเสียชีวิตอย่างกระทันหัน แนะนำการทำประกันแบบตลอดชีพ หรือประกันแบบชั่วระยะเวลา โดยเลือกช่วงเวลาคุ้มครองที่เหมาะสม หรือซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อความคุ้มครองที่ดีขึ้น นอกจากนี้สามารถพิจารณาประกันชีวิตควบการลงทุนแบบจ่ายเบี้ยรายงวด (Regular Premium : RP) เพื่อเป็นการวางแผนเพื่อการศึกษาของบุตร เป็นหลักประกันว่าหากกำลังส่งเสียค่าเล่าเรียนให้ลูก แล้วผู้ปกครองเกิดประสบเหตุอันตราย ลูกหลานก็จะได้มีเงินจากทุนประกันไปใช้เป็นค่าเล่าเรียนจนจบการศึกษา

ช่วงวัยทำงานตอนปลายจนถึงเวลาเกษียณ (46-60 ปี)

  • เป็นช่วงที่ภาระการดูแลครอบครัวค่อย ๆ ลดลง แต่เรื่องสำคัญในช่วงนี้คือการเตรียมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงอายุสำคัญเพราะใกล้จะไม่มีรายได้เข้ามาอีก (กรณีเตรียมเงินเกษียณหลังอายุ 50 ปี อาจไม่สามารถเตรียมเงินได้ทัน) ประกันชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้จึงเป็นประกันแบบบำนาญ เพื่อสร้างเงินบำนาญหลังเกษียณเอาไว้ใช้จ่าย อาจทำควบคู่กับเงินออมเพื่อการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณเพียงพอ

ช่วงหลังเกษียณ (61 ปี เป็นต้นไป)

  • อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต บางคนอาจเริ่มทำพินัยกรรม หรือการเตรียมทรัพย์สิน เตรียมเงินมรดกให้ลูกหลานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือในการสร้างเงินมรดกตีให้ลูกหลาน หรือใช้บริหารภาษีมรดกได้ กรณีมีทรัพย์สินจำนวนมาก (มากกว่า 100 ล้านบาท) ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือประกันที่เน้นการคุ้มครองชีวิตแบบตลอดชีพ แต่สำหรับผู้ที่อยากจะสร้างเงินมรดกให้ลูกหลาน แต่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัว จนไม่สามารถทำประกันชีวิตแบบทั่วไปได้ อาจพิจารณาทำประกันชีวิตผู้สูงอายุแทนได้ เพราะไม่จำเป็นต้องตรวจ หรือตอบคำถามสุขภาพ ผู้ที่มีโรคประจำตัวก็สามารถทำประกันนี้ได้

Ufabet เว็บหลัก

Credit by : Ufabet