จ่ายภาษี ใครบ้างที่ต้องจ่าย? ไขข้อสงสัยใครบ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี

จ่ายภาษี ภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามปกติการจ่ายภาษีจะทำเป็นรายปีตามรายได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำรายการรายได้ของตนเองไปแสดงตามแบบรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป ในบางกรณีผู้มีเงินได้ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดสามารถยื่นแบบการเสียภาษีแบบครึ่งปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และบางกรณีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างทำหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่ายจากเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างบางส่วน เป็นการทยอยการชำระภาษีขณะที่มีเงินได้นั่นเอง

ผู้ที่มีหน้าที่ จ่ายภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือผู้ที่มีเงินได้แกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
จ่ายภาษี

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/กุญแจมือ-ธนบัตร-ดอลลาร์-ใส่กุญแจมือ-3748614/

ผู้ที่ต้องยื่นจ่ายภาษี

คนไทยที่มีรายได้ทุกคนต้อนยื่นแบบจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

  1. คนไทยทุกคน ในกรณีที่โสด มีรายได้ และเงินได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี
  2. คนไทยทุกคน กรณีที่สมรสแล้ว มีรายได้ และเงินได้มากกว่า 220,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยรายเดือน ๆ ละ 18,333 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ คือการนำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ที่กำหนดโดยกรมสรรพากรมากรอกรายละเอียด พร้อมแนบหลักฐานรายได้ประจำปี รวมทั้งหลักฐานการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นชำระภาษี ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ทำความรู้จัก ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 แตกต่างกันอย่างไร

แบบฟอร์มสำหรับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบ ได้แก่

  • ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น ดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุน ค่าเช่าบ้าน เงินปันผล เป็นต้น
  • ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือน ไม่มีรายได้อื่น ๆ เสริม เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าทำงานล่วงเวลา เบี้ยประชุม เป็นต้น

เอกสารยื่นประกอบการจ่ายภาษี

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องมีการจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อใช้คำนวณอัตราการจ่ายภาษี หรือเพื่อลดหย่อนภาษี ดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) หรือการจ่ายภาษีที่นายจ้างหักในตอนที่จ่ายเงินเดือนแล้ว
  • รายการลดหย่อนภาษีของปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เช่น ใบเสร็จการชำระเบี้ยประกันชีวิต หรือเอกสารการซื้อกองทุน RMF เป็นต้น

นอกจากเอกสารเหล่านี้ ในการจ่ายภาษีจะมีอัตราการขอลดหย่อนภาษีประกอบไปด้วย

  1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่
  2. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท
  3. ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้)
  4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท ต่อการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง
  5. ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปี
  6. ค่าลดหย่อนกรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของตน และของคู่สมรส สูงสุดไม่เกิน 4 คน ได้ลดหย่อน 30,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
  7. ค่าอุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
  8. ค่าลดหย่อนการจ่ายภาษีจากการทำประกัน การลงทุน และเงินออม
  9. เงินสมทบเข้าประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,100 บาท
  10. การทำประกันชีวิตทั่วไป ประกันสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  11. การทำประกันสุขภาพให้บิดามารดา ใช้ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  12. เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  13. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  14. กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ใช้ลดหย่อนการจ่ายภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  15. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  16. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

ทั้งนี้ กลุ่มการลงทุนทั้งหมดรวมกัน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท

  • กรณีเงินบริจาค
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้ เมื่อหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การพัฒนาสังคม การกีฬา การบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการบริจาคเพื่อโรงพยาบาลของรัฐ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
จ่ายภาษี

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ค่าเพิ่มภาษี-เอกสาร-4184607/

ค่าปรับกรณีลืมจ่ายภาษี

กรณีจ่ายภาษีเกินวันที่กำหนดในแต่ละปี จะต้องเสียค่าปรับดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน เสียค่าปรับการจ่ายภาษีตามจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท
  • เกิน 7 วัน เสียค่าปรับการจ่ายภาษีตามจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย 15% ต่อเดือนของยอดภาษีที่ต้องจ่าย

นอกจากภาษีเงินได้ ยังการจ่ายภาษี อีก 2 แหล่ง คือ

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่เก็บจากบริษัท หรือนิติบุคคลรูปแบบต่าง ๆ ที่ในปัจจุบันมีอยู่ราว 1.5 แสนแห่ง
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่า VAT (value-added tax) เป็นการจ่ายภาษีโดยทุกคนที่ซื้อสินค้า หรือใช้บริการจากร้านค้าต่าง ๆ เพราะจะมีการบวก VAT ไว้ในราคาสินค้าและบริการนั้น ๆ แล้ว
  3. ภาษีอากรประเภทอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ภาษีสินค้านำเข้า – ส่งออก เป็นต้น

                ดังนั้นการจ่ายภาษีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในประเทศไทยจะต้องดำเนินการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ

จ่ายภาษี

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เครื่องบันทึกเงินสด-เครื่องพิมพ์-5610295/

แทงบอลออนไลน์

Credit by : Ufabet