จ่ายภาษีรถยนต์ เรื่องที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายเงียบ

จ่ายภาษีรถยนต์ เปรียบได้กับการทำสัญญาระหว่างเจ้าของรถยนต์ และภาครัฐที่ดูแลภาษีรถยนต์ เพื่อให้ภาครัฐได้มีรายได้เพื่อการทำนุบำรุง ปรับปรุง เพิ่มเติม และพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกให้ดียิ่งขึ้น สะดวกมากขึ้น และเข้าถึงพื้นที่ทุรกันดารต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น จึงถือเป็นพันธกิจที่เจ้าของรถทุก ๆ คนจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะมีกำหนดการชำระเป็นรายปี และมีหลักฐานการชำระเป็นใบเสร็จ และป้ายทะเบียนสำหรับเก็บติดไว้ในรถ

จ่ายภาษีรถยนต์

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/รถเงิน-รถ-leasing-autokaufmann-4516072/

 จ่ายภาษีรถยนต์ ตามรายละเอียดของรถยนต์แต่ละประเภท

เพราะรถยนต์แต่ละประเภทจะมีอัตราการจ่ายภาษีรถยนต์ที่แตกต่างกัน เพราะรถยนต์แต่ละประเภทสามารถะนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน สามารถพิจารณานิยามความหมายของรถยนต์แต่ละประเภทตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้

  • รถยนต์นั่ง คือรถเก๋งหรือรถยนต์ที่ถูกออกแบบมาใช้สำหรับนั่งเป็นหลัก ซึ่งหมายความรวมถึงรถยนต์ที่มีลักษณะเดียวกัน ได้แก่ รถยนต์ที่มีหลังคาติดเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร รถที่มีประตู หรือหน้าต่างและที่นั่งด้านข้างหรือด้านหลังของคนขับ
  • รถยนต์โดยสาร คือรถยนต์หรือรถตู้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการขนส่งผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะคล้ายกัน
  • รถยนต์กระบะ คือรถยนต์ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวไว้สำหรับคนขับ ส่วนตอนหลังเป็นกระบะบรรทุก ซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถ ซึ่งตามปกติจะไม่มีหลังคา

ลักษณะรถยนต์ที่ได้รับส่วนลดการจ่ายภาษีรถยนต์ 4 ประเภท

                ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 138) ได้ระบุว่า เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติประกาศของคณะรัฐมนตรีไว้ดังนี้

                รถยนต์กึ่งนั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle PPV) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ลบ.ซม.) และเป็นรถยนต์แที่ใช้พลังงานแบบผสมระหว่างเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (ไฮบริด) ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 175 กรัม/กิโลเมตร สามารถใช้ลดการจ่ายภาษีรถยนต์ให้สรรพสามิตจากเดิม 25% เป็น 23%

                รถยนต์นั่งแบบกระบะ (Double Cap) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลบ.ซม. และเป็นรถยนต์ลักษณะไฮบริด ได้รับการลดการจ่ายภาษีรถยนต์ จากเดิม 12% เป็น 10%

                รถยนต์นั่งแบบไฮบริดที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. ได้ลดการจ่ายภาษีรถยนต์จากเดิม 10-30% เป็น 5-15% ตามบัญชีท้ายประกาศของกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับ27) ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2534

                ส่วนรถยนต์นั่งแบบใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ขะได้ลดหย่อนภาษีจากเดิม 10% เป็น 2%

                โดยรถยนต์ไฮบริด หรือรถยนต์พลังไฟฟ้า ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์เพื่อขอรับการลดอัตราภาษีสรรพสามิต การทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตต้องดำเนินการก่อนเริ่มผลิตรถยนต์ดังกล่าว ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 นับไปอีก 5 ปีนับแต่วันที่ลงนามในข้อตกลงกับกรมสรรพสามิต แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2568

                รถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตทุกคันต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิต หรือประกอบโดยผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในประเภทลิเธียมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ หรือแบตเตอร์รี่ประเภทอื่น ๆ ที่สามารถให้พลังงานจำเพาะ ที่มีน้ำหนักสูงกว่าประเภทลิเธียมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ การลดอัตราจ่ายภาษีรถยนต์สรรพสามิตของรถยนต์ประเภทไฮบริด หรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้านั้นมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 มิ.ย. 2560 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568

จ่ายภาษีรถยนต์

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/รถยนต์-รถโบราณ-citroen-งเป็ด-3091234/

วิธีการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีมีกี่วิธีและต้องเตรียมอะไรบ้าง

                รถยนต์ทุกคันที่มีอายุทะเบียนอนุญาตให้ขับขี่ครบ 1 ปี ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถตู้ รถแวน รถปิคอัพ ฯลฯ เจ้าของรถเหล่านั้นต้องจ่ายภาษีรถยนต์เป็นประจำปีทุกปี มีเอกสารที่เรียกกันติดปากว่าป้ายวงกลมหรือป้ายภาษี ทีจะระบุวันที่ต่อภาษีให้เจ้าของรถทราบกำหนดการ ช่วยให้เจ้าของรถสามารถเตรียมตัวในการต่อทะเบียน และเสียภาษีรถยนต์ประจำปีได้ พร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อย่างใบคู่มือการจดทะเบียนรถ (ถ้ามี), หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน, ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีรถยนต์จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)

                กรณีรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียน) และไม่ได้ติดตั้งแก๊สธรรมชาติเป็นเชื่อเพลิง โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรถยนต์แล้วเสร็จ หรือได้ป้ายทะเบียนรถสีขาวแล้ว เป็นรถยนต์ที่เจ้าของรถสามารถนำเล่มทะเบียนสีฟ้า หรือกรณีที่รถอยู่ระหว่างผ่อนกับไฟแนนซ์ให้ใช้สำเนาเล่มทะเบียน มีการถ่ายรายละเอียดเลขตัวถัง ทะเบียนและชื่อเจ้าของรถ และเอกสารการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อนำไปจ่ายภาษีรถยนต์ได้เลย

                กรณีรถยนต์มีอายุจดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี แต่ได้ติดตั้งพลังงานทางเลือกทั้งระบบแก๊ส LPG หรือ NGV เมื่อทำการดัดแปลงต้องแจ้งการติดตั้งให้กรมขนส่งทราบเพื่อลงบันทึกในสมุดคู่มือทะเบียนรถ กรณีเป็นระบบถัง LPG ควรตรวจสอบระบบบรรจุก๊าซทุก ๆ 5 ปี และระบบ NGV/CNG ควรตรวจสอบทุก ๆ 1 ปี ตามกำหนดการของกรมการขนส่งทางบก โดยตัวถังบรรจุแก๊สระบบ LPG จะเป็นการตรวจสอบทุก ๆ 10 ปี และ NGV ทุก ๆ 5 ปี เป็นต้น แต่ในส่วนของตัวรถไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพเพื่อขอใบรับรองใด ๆ เพิ่มเติม หรือจะใช้บริการตรวจสภาพรถโดยเอกชน ที่มีขั้นตอนการตรวจสอบระบบแก๊สในสถานประกอบการเอกชนหรือที่เรียกว่า ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง ต้องมีวิศวกรออกใบรับรองอย่างถูกต้องเท่านั้น เป็นการตรวจสอบระบบการทำงานทั่วไป, การตรวจสอบความพร้อมของชุดจ่ายแก๊ส, การตรวจสอบอายุถังบรรจุแก๊ส และการตรวจสอบระบบบรรจุแก๊ส

                กรณีรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปี (นับแต่วันที่จดทะเบียน) แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส สามารถนำรถไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือที่เรียกว่า ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งได้เลย หรือจะนำรถไปตรวจสอบสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงก็ได้ จากนั้นก็เตรียมหลักฐานการทำ พ.ร.บ.เพื่อใช้จ่ายภาษีรถยนต์ได้เลย

                รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และติดตั้งแก๊ส นอกจากการตรวจสอบสภาพกับ ตรอ.แล้ว ยังต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์เดียวกับรถที่มีการจดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี โดยอายุการติดตั้งระบบแก๊สนับจากวันที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถ รวมถึงการตรวจสอบถังบรรจุแก๊สด้วย เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบแล้วจึงจะสามารถจ่ายภาษ๊รถยนต์ได้

                การตรวจสภาพรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี มีรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบคือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าของรถยนต์ทั้งระบบ เช่นการทำงานของไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟถอยหลัง ไฟหน้าปัด ต้องติดครบทั้งหมด ระบบเบรกต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยมีเครื่องทดสอบการห้ามล้อที่พื้น เมื่อขับรถและเบรก คอมพิวเตอร์ก็จะแสดงผลแรงเบรกเป็นตัวเลขว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ รวมถึงเบรกมือต้องใช้งานได้ตามปกติ เป็นต้น

จ่ายภาษีรถยนต์

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/รถยนต์-ดูแล-มือ-ล้าง-ประกันภัย-4394642/

แทงบอลออนไลน์

Credit by : Ufabet