จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ทุกคนควรรู้ว่าเมื่อมี”รายได้เข้ามา (ภาษาทางภาษีเรียกว่า เงินได้) ในช่วงปีใด ๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม เมื่อเข้าสู่ปีถัดไป ในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป เป็นช่วงเวลาที่ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา สามารถยื่นได้ด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน หรือยื่นผ่านแบบอินเทอร์เน็ตบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ผู้ที่ต้องยื่น จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา ในแต่ละปี
ไม่ได้หมายความถึงแต่ผู้ที่มีเงินได้มากกว่าเดือนละ 25,833 บาท หรือมีเงินได้ต่อปีสูงกว่า 300,000 บาท เท่านั้น เพราะกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี ก็ยังมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายได้ ตามกรณีต่อไปนี้
- คนโสด ที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน หรือค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
- คนโลกที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน หรือค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ด้วย หรือกรณีที่มีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้มากกว่า 60,000 บาท
- ผู้ที่สมรสแล้ว กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน หรือค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้มากกว่า 220,000 บาท
- ผู้ที่สมรสแล้วมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน หรือค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเงินได้เฉพาะประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้มากกว่า 120,000 บาท

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การควบคุม-คำนวณ-จ่าย-740202/
ประเภทของเงินได้ที่ต้อง จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา
ตามกฎหมายแล้ว เงินได้ที่ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน คือเงินได้ของบุคคลใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ เงินได้นี้รวมถึงเงิน, ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องเป็นเงินที่ได้รับจริง สามารถแบ่งประเภทเงินได้ได้ ดังนี้
เงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้ที่ได้รับจากการจ้างแรงงาน แบ่งเป็น
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส เบี้ยหวัด ค่าล่วงเวลา บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้จากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าการอยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ให้ลูกจ้างที่มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากการจ้างงาน เช่นค่าการรับประทานอาหาร
เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้ที่ได้รับจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำอยู่ หรือได้รับจากการรับทำงานให้ เช่น
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลดต่าง ๆ
- เงินอุดหนุนจากงานที่ทำ เบี้ยประชุม เงินบำเหน็จ เงินโบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับ เนื่องจากหน้าที่การงานหรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เงินได้ประเภทที่ 3
- ได้แก่ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าจากลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปีหรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายได้ อาจเนื่องมาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้ประเภทที่ 4
- ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งจากกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
เงินได้ประเภทที่ 5
- เงินได้ที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และการผิดสัญญาการซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่จำเป็นต้องคืนเงิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
เงินได้ประเภทที่ 6
- ได้แก่ เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ อย่างวิชาทางกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี งานประณีตศิลปกรรม ฯลฯ
เงินได้ประเภทที่ 7
- ได้แก่ เงินที่ได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนโดยการจัดหาสัมภาระ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือต่าง ๆ
เงินได้ประเภทที่ 8
- คือเงินที่ได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ การทำเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการประกอบการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

การจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา
คือภาษีที่คนทั่วไปต้องจ่ายให้รัฐ เมื่อมีเงินได้ก็จำเป็นต้องเสียภาษี แต่วิธีที่ช่วยให้เสียภาษีในอัตราต่ำที่สุด ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ
- การกระจายรายได้
- การทำธุรกรรมเพื่อลดหย่อน
- การระบุประเภทรายได้เพื่อเสียภาษีน้อยที่สุด
- การจดทะเบียนสมรส
- การกระจายรายได้ ประเทศไทยใช้ภาษีอัตราก้าวหน้า หลักการของภาษีอัตราก้าวหน้าคืเมื่อมีเงินได้น้อย ก็จะจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาต่ำกว่า แต่หากเงินได้สูงขึ้นก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น กรณีเงินได้ 500,000 บาท อาจเสียภาษีแค่ 50,000 บาท หรือ 10% ของรายได้ แต่หากรายได้เป็น 2 ล้านบาท จะไม่ใช่อัตราภาษี 10% แต่จะเป็น 20% แทน หรือเป็น 400,000 บาทแทน ดังนั้นแทนที่จะรับเงินก้อนเดียว 2 ล้านก็อาจเปลี่ยนเป็นเงิน 4 ก้อน ก้อนละ 500,000 อัตราภาษีก็จะเป็น 50,000 X 4 = 200,000 บาทแทน
วิธีการกระจายเงินได้สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
- การหาผู้มาช่วยรับเงิน ตัวอย่างเช่น กรณีทำงาน 4 คนได้รับค่าจ้าง 2 ล้านบาท แทนที่จะรับคนเดียว 2 ล้าน อาจเจรจากับผู้ว่าจ้างว่าให้จ่ายแยกทั้ง 4 คน เป็นคนละ 500,000 บาทแทน
- การกระจายงวดการรับเงิน เช่นกรณีเงิน 2 ล้าน ไม่ควรรับเพียงครั้งเดียว แต่เปลี่ยนเป็นรับเงิน 2 ครั้งแทน เช่นเมื่อรับเงินช่วงเดือน ธ.ค. อาจขอให้จ่าย 1 ล้านบาท แล้วในเดือน ม.ค. ปีถัดไปรับอีก 1 ล้านบาท ก็จะช่วยให้รายรับต่อปีลดลง เป็นต้น
- เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ที่นิยมมากคือประกันชีวิตและกองทุน ซึ่งใช้ลดหย่อนการจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาได้ หรือลดหย่อนด้วยดอกเบี้ยผ่อนบ้าน ค่าเลี้ยงดูบุพการี เงินบริจาค ฯลฯ
การระบุประเภทรายได้ให้เสียภาษีน้อยที่สุด อาชีพลูกจ้างบริษัทคืออาชีพที่เสียภาษีสูงที่สุด โดยรายได้ของคนเรามีหลายประเภท ได้แก่
- เงินเดือน ค่าจ้าง
- ดอกเบี้ย เงินปันผล
- วิชาชีพอิสระ
- ผู้รับเหมา
- งานขนส่ง
- การทำเกษตรกรรม
ประเภทของรายได้ต่าง ๆ มีวิธีการจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาแตกต่างกัน ควรพยายามปรับเงื่อนไขรายได้ให้เข้ากับประเภทของรายได้ ยิ่งที่มาของรายได้นั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูง ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลง การเสียภาษีก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น กรณีขายข้าวเปลือกหรือข้าวสาร ได้เงิน 1 ล้านบาท หากเป็นอาชีพค้าขายก็จะมีเงินได้สุทธิ 200,000 บาท แต่หากเป็นเกษตรกร คิดเงินได้สุทธิเป็น 150,000 บาท ทำให้เสียภาษีน้อยลง การตั้งเงื่อนไขการรับเงินได้ให้ถูกประเภท จึงช่วยให้เสียภาษีน้อยลง แต่การระบุประเภทรายได้ ในกรณีที่สามารถหารายได้เกิน 1.8 ล้านต้องจดทะเบียนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เพิ่มเติมด้วย
- การจดทะเบียนสมรส เป็นเงื่อนไขจากกรมสรรพกร ที่ระบุให้การจดทะเบียนสมรสจะทำให้การจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาลดน้อยลง หากเข้าข่ายลักษณะที่
- รายได้บางส่วนของสามี ถูกโอนมาเป็นรายได้ของภรรยา
- กรณีสามีมีรายได้ฝ่ายเดียว รายได้บางส่วนสามารถนำมาหาร 2 ก่อนคำนวณภาษีได้

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/การทำบัญชี-การบัญชี-ภาษี-615384/